Page 165 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 165
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชุดแรก (13 กรกฎาคม 2544 - 24 มิถุนายน
2552) มีดังนี้
1. ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัล ดิษฐาอภิชัย กรรมการ
3. คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร กรรมการ
4. นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง กรรมการ
5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี กรรมการ
6. นายวสันต์ พานิช กรรมการ
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทิน นพเกตุ กรรมการ
8. นางสุนี ไชยรส กรรมการ
9. นายสุรสีห์ โกศลนาวิน กรรมการ
10. คุณหญิงอัมพร มีศุข กรรมการ
11. นาวสาวอาภร วงษ์สังข์ กรรมการ
5.1.4 อ านาจหน้าที่/ขอบเขตความรับผิดชอบ
อ านาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540
บทบัญญัติมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยพุทธศักราช 2540 ได้ก าหนดให้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบและรายงานการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศ
ไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระท าหรือละเลย
การกระท าดังกล่าวเพื่อด าเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการด าเนินการตามที่เสนอ ให้รายงาน
ต่อรัฐสภาเพื่อด าเนินการต่อไป
2. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ
ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
3. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
4. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การ
เอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
5. จัดท ารายงานประจ าปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
6. อ านาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
- 121 -