Page 68 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 68

แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                              มาตรา 75  บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเจตจํานงให้รัฐดําเนินการตรากฎหมายและกําหนด
                       นโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน

                              ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภา
                       ให้ชัดแจ้งว่าจะดําเนินการใด  ในระยะเวลาใด  เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบาย
                                                                                    ั
                       พื้นฐานแห่งรัฐ  และต้องจัดทํารายงานแสดงผลการดําเนินการ  รวมทั้งปญหาและอุปสรรคเสนอต่อ
                       รัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง
                              มาตรา 76  คณะรัฐมนตรีต้องจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและ

                       รายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน  ซึ่งจะต้อง
                       สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                              ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายที่จําเป็นต่อการ

                       ดําเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
                              กําหนดแนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
                              มาตรา 77 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตยและบูรณภาพ

                       แห่งเขตอํานาจรัฐ และต้องจัดให้มีกําลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จําเป็น และ
                       เพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์

                       แห่งชาติ  และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  และเพื่อการ
                       พัฒนาประเทศ
                              กําหนดแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

                              มาตรา 78 รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
                              (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม  เศรษฐกิจ  และความมั่นคงของ

                       ประเทศอย่างยั่งยืน   โดยต้องส่งเสริมการดําเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคํานึงถึง
                       ผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสําคัญ
                              (2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อํานาจ
                       หน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศและสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและ

                       งบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่
                              (3) กระจายอํานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง

                       ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดําเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
                       พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐาน
                       สารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็น
                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคํานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

                              (4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ  คุณธรรม  และจริยธรรมของ
                       เจ้าหน้าที่ของรัฐควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทํางานเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน

                       เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
                       เป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ


                                                                                                       4‐8
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73