Page 45 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 45

3)  ระบบกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายทําให้เกิดความขัดแย้งในการอ้างสิทธิเหนือที่ดินระหว่าง
                        ่
                                                       ่
                       ฝายที่อ้างกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายกับฝายที่อ้างสิทธิตามจารีตประเพณีหรือสิทธิที่อิงอยู่กับหลักการ
                       ความชอบธรรมแบบอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ชาวบ้านในภาคเหนือ “ปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน”  ในที่ดินที่เอกชน
                       ถือกรรมสิทธิ์ชาวบ้านอ้างว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเหล่านั้นไม่มีความชอบธรรมที่จะครอบครองที่ดิน
                       เพราะพวกเขาไม่ทําประโยชน์ในที่ดินแต่กลับปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า นอกจากนั้น บางคนยังได้กรรมสิทธิ์
                       มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่สําหรับชาวไร่ชาวนาถึงแม้ว่าจะไม่มีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายแต่ก็มีความ

                       ชอบธรรมที่จะเข้าครอบครองที่ดิน เพราะพวกเขาใช้ประโยชน์ที่ดินผืนนั้นมาตั้งแต่อดีตและพวกเขา
                       ยังทําการเพาะปลูกสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเหนือที่ดิน นอกจากนี้มีกรณีความขัดแย้งอีกมากมาย
                       ทั่วประเทศที่ชาวบ้านอ้างสิทธิตามจารีตประเพณีในทํานองเดียวกันเหนือที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ
                                               ่
                       หรือเอกชน เช่น ที่ดินในเขตปาของรัฐ ที่ราชพัสดุ ที่ดินเอกชน
                              4)  มีกรณีความขัดแย้งในท้องถิ่นมากมายที่เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือที่ดินผืนเดียวกัน
                       แต่อิงอยู่กับหลักการที่ขัดแย้งกัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านด้วยกันเองหรือระหว่างชาวบ้าน

                       กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
                               ั
                              ปญหาเหล่านี้สะท้อนว่าระบบกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายไม่ได้ถูกยอมรับอย่างสมบูรณ์ และไม่ได้เป็น
                       ระบบเดียวที่ประชาชนยึดถือปฏิบัติกันอยู่ ชาวบ้านในท้องถิ่นพยายามท้าทายระบบกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย

                       มาโดยตลอดด้วยการอ้างสิทธิที่อิงอยู่กับหลักการอื่น ๆ ที่ชาวบ้านเห็นว่ามี “ความชอบธรรม” มากกว่า
                       ระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐ
                                            ั
                              ขณะเดียวกันก็มีปญหาการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย มีกฎหมายหลายฉบับที่บัญญัติไว้
                       เพื่อให้มีการกระจายการถือครองที่ดิน เช่น พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดิน และบางมาตราในประมวลกฎหมาย
                       ที่ดินแต่เจ้าหน้ารัฐกลับเลือกปฏิบัติโดยการไม่บังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นหรือใช้กฎหมายโดยไม่ถูกต้อง
                                                                                         ่
                       ตามเจตนารมณ์ ตัวอย่างเช่น การปฏิรูปที่ดินที่ผ่านมาเป็นการเอาที่ดินในเขตปามาปฏิรูปให้เอกชน
                       แทนที่จะเอาที่ดินเอกชนมาปฏิรูปให้แก่เกษตรกรซึ่งในที่สุดที่ดินเหล่านั้นก็มักจะหลุดมือไปสู่นายทุน
                                                                       ่
                       จึงกล่าวได้ว่า การปฏิรูปที่ดินกลายเป็นการเอาที่ดินในเขตปามาให้แก่นายทุน
                              ในมาตรา 6  ของประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติให้มีการเวนคืนที่ดินเอกชนที่ถูกปล่อยให้รกร้าง

                       ว่างเปล่านานเกิน 10 ปี แต่เจ้าหน้าที่รัฐไม่เคยบังคับใช้กฎหมายนั้นเลยขณะที่มีเกษตรกรจํานวนมาก
                                 ่
                       ที่อยู่ในเขตปามานานแล้วรัฐกลับไม่รับรองสิทธิเหนือที่ดินให้แก่พวกเขา
                               ั
                              ปญหาการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายยังรวมไปถึงการที่เจ้าหน้าที่รัฐอาศัยอํานาจหน้าที่
                       เปิดช่องหรือร่วมมือกับนายทุนให้มีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินโดยมิชอบซึ่งปรากฏเป็นกรณี
                                                                       ั
                       ความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย ท่ามกลางสถานการณ์ปญหาการจัดการที่ดินที่ยืดเยื้อยาวนาน
                       มีประชาชนตกเป็นจําเลย และผู้ต้องหาเป็นจํานวนมาก ขณะเดียวกัน ขบวนการชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น
                       เพื่อเรียกร้องให้รัฐแก้ไข ยกเลิก หรือระงับการออกกฎหมาย นโยบาย และมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้ง
                       เรียกร้องให้รัฐบังคับใช้กฎหมาย และออกกฎหมาย และการใช้มาตรการอื่น ๆ นอกจากกฎหมาย
                                           ั
                              งานวิจัยเรื่อง ปญหากฎหมายการออกเอกสารสิทธิที่ดินบนเกาะโดยไชยา  วิสุทธิปราณ
                                     ั
                       ซึ่งเป็นการวิจัยปญหาการออกโฉนดที่ดินบนเกาะ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) และการ


                                                                                                      3‐16
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50