Page 397 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 397
7.3 ลักษณะการละเมิดสิทธิ
จากการศึกษารายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องที่ราชพัสดุเฉพาะกรณี
ั
่
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและปา ตรวจสอบและออกมาตรการแก้ไขปญหาพบลักษณะ
การละเมิดสิทธิ ดังต่อไปนี้
ลักษณะพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
- หน่วยงานราชการไม่ดําเนินการออกเอกสารสิทธิ โดยอ้างว่าเป็นที่สงวนหวงห้าม หรือที่ราชพัสดุ
- หน่วยงานราชการอ้างว่าเป็นที่ดินที่หน่วยราชการเคยใช้ประโยชน์ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน
และขอบเขตการใช้ประโยชน์ไม่แน่นอน
- ที่ดินราชพัสดุทับซ้อนกับที่ดินอยู่อาศัยหรือที่ทํากินของราษฎร
- หน่วยงานราชการเข้าใช้ประโยชน์สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราษฎร เช่น การปรับ
สภาพพื้นที่ของราษฎร
- เจ้าหน้าที่รัฐใช้วิธีการรุนแรงในการขับไล่ ข่มขู่ คุกคาม ดําเนินคดี
ั
- เจ้าหน้าที่รัฐไม่รับฟงคําคัดค้านของราษฎรในการรังวัด นําชี้ แนวเขต
- ราษฎรไม่ทราบการประกาศการสงวนหวงห้าม หรือการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่ดิน
- ราษฎรไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์
- เจ้าหน้าที่รัฐพูดจาโน้มน้าว โฆษณาชวนเชื่อ แต่ไม่ปฏิบัติตามที่พูดนั้น
- หน่วยงานราชการบีบบังคับให้ราษฎรเช่าพื้นที่ ตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ และโครงการ
แปลงสินทรัพย์เป็นทุน ตามนโยบายรัฐบาล
สาเหตุการละเมิดสิทธิ
- หน่วยงานราชการไม่มีการลงไปสํารวจพื้นที่ว่ามีราษฎรครอบครองทําประโยชน์อยู่ก่อน
หรือไม่ แต่เป็นการขีดขอบเขตบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
- หน่วยงานราชการมีความต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
- ที่ราชพัสดุไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน
- ไม่มีพยานหลักฐานการประกาศสงวนหวงห้ามที่ชัดเจน เช่น เอกสารการประกาศสงวนหวงห้าม
ขอบเขตที่ตั้งและอาณาเขตที่สงวนหวงห้าม เนื้อที่ในการสงวนหวงห้าม หน่วยงานประกาศที่สงวน
หวงห้ามที่ดินนั้น เป็นต้น
- ไม่มีกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงที่ชัดเจนของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบของราษฎรจากการถูกละเมิด
- ราษฎรขอออกเอกสารสิทธิในที่ครอบครองทําประโยชน์ไม่ได้
- ราษฎรเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินไม่ได้
้
- ราษฎรถูกฟองร้องดําเนินคดี
- ราษฎรถูกบังคับ ขับไล่ ออกจากพื้นที่
- ราษฎรสูญเสียทรัพย์สินและที่ดินทํากิน
7‐35