Page 15 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 15

2. กรอบคิดการวิจัย


                       2.1 ความเป็นมา

                               ั
                              ปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางในทุกมิติและ
                       ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในด้านที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นฐานชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
                                                                                               ่
                       แม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ก.ส.ม.) จะได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านที่ดินและปาให้ทําหน้าที่
                                                                                            ่
                       ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการที่ดินและปาไม้อย่างแข็งขัน
                                                        ั
                       ตลอดจนจัดทําข้อเสนอแนะการแก้ไขปญหาเชิงนโยบายและกฎหมาย ระเบียบตลอดจนแนวปฏิบัติ
                                                               ั
                       ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทําการศึกษาวิจัยสาเหตุของปญหาการละเมิดสิทธิ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความรู้
                                                                                                    ่
                       ความเข้าใจและพัฒนากลไกการคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้านสิทธิในการจัดการที่ดินและปาไม้มา
                                                                                            ่
                       ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 แล้ว เรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิประชาชนเกี่ยวกับเรื่องที่ดินและปาก็ยังไม่มีทีท่าว่า
                       จะลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมากกว่า 500 เรื่อง (นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา) ทั้งจากหน่วยงาน

                       ของรัฐและจากเอกชน ซึ่งจากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าวนี้ได้พบการละเมิดสิทธิในหลายรูปแบบ
                       หลายลักษณะ นอกเหนือจากการกระทําของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่เหมาะสม การทุจริต การเลือกปฏิบัติ
                                                                    ั
                              จากข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์พบว่าเหตุปจจัยรากเหง้าของข้อพิพาทส่วนใหญ่เกิดจาก
                       โครงสร้างนโยบายและกฎหมายในหลายแง่มุม อาทิ ระเบียบกฎหมายเก่าแก่ล้าสมัยไม่สอดคล้องกับ
                       บริบทของสังคม กฎหมายมีความซับซ้อน การเลือกใช้กฎหมาย ฯลฯ ส่งผลให้เกิดการใช้อํานาจรัฐและ
                       กระบวนการยุติธรรมอย่างไม่เหมาะสมเป็นเครื่องมือละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างกว้างขวางและ

                       เป็นเหตุให้มีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ
                       เป็นจํานวนมากจนตรวจสอบไม่ทัน  ยิ่งกว่านั้นในการเชิญเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้องมาไต่สวน
                       ให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและกฎหมายยังพบว่ามีประเด็นทางกฎหมายจํานวนมาก

                       ที่แม้แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐรวมทั้งนิติกรและนักวิชาการด้านกฎหมายเองก็สับสน ไม่สามารถ
                                                                                                    ้
                       ให้คําตอบได้เพราะไม่มีความรู้หรือความรู้เก่าไม่ทันสมัย แต่ใช้หลักฐานตามความเข้าใจของตนส่งฟองศาล
                       และศาลก็มิได้ออกไปไต่สวนหาข้อเท็จจริงจึงมักเชื่อหลักฐานของเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าหลักฐาน

                       ความเป็นจริงเชิงประจักษ์ในพื้นที่ ประชาชนจึงมักแพ้คดีอันเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก
                       กระบวนการยุติธรรมดังกล่าว จนต้องออกมาร้องเรียนและชุมนุมประท้วงกันตามที่ทราบกันดีแล้ว
                                                                             ่
                                      ั
                              การแก้ปญหาการละเมิดสิทธิประชาชนด้านที่ดินและปาจึงไม่เพียงแค่การตรวจสอบการ
                                              ั
                       ละเมิดสิทธิอันเป็นการแก้ปญหาที่ปลายเหตุที่นับวันจะมีจํานวนเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไข
                        ั
                       ปญหาเชิงโครงสร้างที่นโยบายและกฎหมายอันเป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมและละเมิด
                                                        ั
                       สิทธิประชาชนด้วย แต่งานศึกษาวิจัยในปจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของสํานักงานกองทุนสนับสนุน
                       การวิจัย (ส.ก.ว.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และองค์กรพัฒนาเอกชน
                                                                        ั
                       ด้านทรัพยากร พบว่ามีจํากัดไม่มากนักและไม่ครอบคลุมปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเกิดจาก
                       การกระทําของหน่วยงานรัฐต่าง ๆ งานวิจัยส่วนใหญ่จึงเป็นการวิเคราะห์นโยบายและกฎหมายที่



                                                                                                       2‐1
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20