Page 13 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 13

1. คํานํา


                              ที่ดินและทรัพยากรเพื่อการดํารงชีพเป็นความจําเป็นขั้นพื้นฐานสําหรับการดํารงชีวิตของมนุษย์

                       การเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ
                       ซึ่งได้กําหนดให้รัฐจะต้องดําเนินการตามแนวนโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มี
                       การวางแผนการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นระบบ เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มีการกระจายการถือครอง
                       ที่ดินอย่างเป็นธรรมและดําเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม

                       อย่างทั่วถึง แต่ในทางปฏิบัตินอกจากรัฐบาลไม่อาจกระจายการถือครองที่ดินและช่วยเหลือเกษตรกร
                       ให้มีสิทธิในที่ดินได้ทั่วถึงแล้ว ยังเกิดกรณีพิพาทขัดแย้งระหว่างเกษตรกรกับหน่วยงานของรัฐขึ้นทั่วประเทศ

                       เกษตรกรจํานวนมากร้องเรียนมายังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าถูกละเมิดสิทธิในการถือครอง
                                                                                          ่
                       และใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างกว้างขวาง ด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆกัน ทั้งในเขตที่ดินปาไม้ ที่ดินสาธารณะ
                       ประโยชน์ ที่ดินราชพัสดุ ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และที่ดินเอกชน  ผลการตรวจสอบเรื่องราวร้องเรียน
                                                                                              ั
                                                     ั
                                      ั
                       เหล่านี้พบว่าเหตุปจจัยรากเหง้าของปญหาเกิดจากนโยบายและกฎหมายที่ยังคับใช้อยู่ในปจจุบันมีเนื้อหา
                                                               ั
                       ที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน (ฉบับ พ.ศ. 2550) และไม่มีความพยายามที่จะ
                       ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาและกระบวนการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สิทธิในที่ดินของเกษตรกร
                       และชุมชนจึงไม่มีกฎหมายรับรองและเมื่อรัฐมีนโยบายบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด เกษตรกรที่ทํากินอยู่ใน
                       ที่ดินพิพาทกับรัฐและเอกชนก็มักจะโดนแจ้งความดําเนินคดีไล่รื้อให้ออกจากที่ดินทํากินทําให้เกษตรกร
                                                                       ั
                       และครอบครัวได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส การแก้ไขปญหาการละเมิดสิทธิในที่ดินของประชาชน
                                            ั
                       ก็กระทําได้ยากเพราะเป็นปญหาเชิงโครงสร้างทางนโยบายและกฎหมาย
                                                                                                       ่
                              การศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายและกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและปานี้
                                                                                              ่
                       มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงจากเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิด้านที่ดินปาไม้ วิเคราะห์
                                                                                            ่
                       สังเคราะห์ประเด็นทางนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในที่ดินและปา จัดทําความเห็น
                       ในการปรับปรุงแก้ไขนโยบายและกฎหมาย ที่จะนําไปสู่การคุ้มครองสิทธิของประชาชน และ จัดทําข้อเสนอ
                                                                                 ่
                       เพื่อการปฏิรูปโครงสร้างระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและปา และเนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้
                       เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางนโยบาย ระเบียบกฎหมาย รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีจํานวนมากนับร้อยเรื่อง
                       ซึ่งต้องใช้เวลามากในการอ่านและวิเคราะห์สังเคราะห์ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และเนื้อหาที่เป็น
                       สาระสําคัญ ช่วงเวลาวิจัยที่กําหนดไว้เพียง 1  ปี จึงค่อนข้างสั้นเป็นข้อจํากัดสําคัญของการเขียนงานวิจัย

                       ให้มีคุณภาพ แต่ก็นับว่าโชคดีที่ทีมงานวิจัยทุกคนมีต้นทุนทางข้อมูลความรู้และประสบการณ์อยู่
                       พอสมควรแล้ว จึงช่วยให้การเขียนวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหาสาระเป็นรายงานเสร็จสิ้นลงได้ในเวลาที่
                       กําหนด และยังได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิให้ความคิดเห็นและข้อเสนอและ

                       ต่อรายงานการวิจัย จึงทําให้รายงานผลการวิจัยชิ้นนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้
                              ทีมงานวิจัยต้องขอขอบคุณนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                                                 ่
                       และทีมงานเลขานุการของอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและปาทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                                                                ั
                       คุณลดาพร เผ่าเหลืองทอง คุณเพ็ญพรรณ อินทปนตี และคุณเกศริน เตียวสกุล ผู้อํานวยการกลุ่มงาน

                                                                                                       1-1
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18