Page 16 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 16

XI


               ไมรอบดานบีบบังคับการแจงผลเลือดการถูกกดดันใหบอกสถานะของการติดเชื้อ ถูกเลือกปฏิบัติในการเขารับ
               บริการทางการแพทย เชน ถูกจัดใหทําฟนหรือตรวจมะเร็งปากมดลูกเปนลําดับทาย

                   -  ผลกระทบตอเศรษฐกิจในภาพรวม เมื่อสํานักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ ใหบริการโครงการ
               หลักประกันสุขภาพถวนหนา โดยครอบคลุมยาตานไวรัสสําหรับผูติดเชื้อ เพื่อใหผูติดเชื้อมีสุขภาพแข็งแรงและ
               สามารถดําเนินชีวิตไดตามปกติ แตในทางปฏิบัติ กลับมีการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ ทํา
               ใหกําลังแรงงานสวนหนึ่งหายไปจากระบบอยางนาเสียดาย


                       2.1.3  สาเหตุของการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
                       จากผลการศึกษาที่ผานมาพบวา สาเหตุหลักของการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อมี
               ดังนี้

                   -  การขาดความรูที่ถูกตองของคนในสังคมเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี ทําใหนายจางในกิจการประเภทที่
                       เกี่ยวของกับอาหารและการบริการ หวาดกลัว และตั้งขอรังเกียจ
                   -  การขาดความรูในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายไทย ทั้งในสวนของ
                       นายจาง และตัวผูติดเชื้อเอง สาเหตุนี้ทําใหนายจาง จํานวนมากยังคงมีนโยบายเลือกปฏิบัติ ในขณะที่

                       ตัวผูติดเชื้อจํานวนมากก็ไมรูสิทธิของตนเอง และยอมรับการถูกละเมิดสิทธิ
                   -  การขาดความรูความเขาใจในเรื่องความกาวหนาเทคโนโลยีการดูแลรักษา ที่สามารถทําใหผูติดเชื้อ
                       เอชไอวีสามารถดํารงชีวิตไดตามปกติ ทําใหผูคนจํานวนมากยังเขาใจวา ผูติดเชื้อเอชไอวี จะมีสุขภาพ

                       ไมแข็งแรง นายจางจํานวนหนึ่ง จึงไมยอมจางผูติดเชื้อเขาทํางาน เพราะเกรงวาจะไมคุมและตองมี
                       รายจายเพิ่ม
                   -  อคติของคนในสังคม ที่ยังคงมองวา ผูติดเชื้อเอชไอวี เปนผูที่มีพฤติกรรมไมพึงประสงค จึงไมควรจะไป
                       เกี่ยวของกับผูติดเชื้อ

                       การขาดความรู ความเขาใจและอคติเหลานี้ ผลมาจากการรณรงคปองกันการระบาดของโรคเอดส
               ตั้งแตทศวรรษแรกๆ ที่มีลักษณะขูใหคนกลัวซึ่งการปลูกฝงมายาคติ ทําใหเอดส และเชื้อเอชไอวีเปนเรื่องนา
               กลัว โดยนโยบายการบริหารจัดการเอดสของภาครัฐเชนนี้ เคยถูกวิจารณวา นโยบายของรัฐในการจัดการ
               ปญหาโรคเอดสคือการลดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อปองกันการแพรระบาดของเชื้อเอชไอวีไปยังผูอื่นตกอยูภายใต

               แนวคิดระบาดวิทยานั้น เปนการจํากัดมุมมองไมใหเห็นเอดสในมิติอื่นๆ และยิ่งเปนซ้ําเติมการตีตราและการ
               เลือกปฏิบัติอยูตอไป
                       จากการศึกษาสถานการณและปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพตอผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวี
               ของไทย พบวา ภายใตกรอบกฎหมายปจจุบัน แมประเทศไทยยังไมมีกฎหมายเฉพาะเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ

               ตอกลุมผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวี แตรัฐธรรมนูญของประเทศไทยไดมีบทบัญญัติในหลักความเสมอภาคและการ
               ไมเลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังมีบทบัญญัติวาดวยการเลือกปฎิบัติที่เปนธรรมเพื่อใชเปนมาตรการคุมครองกลุมที่มี
               ความแตกตางในสถานการณที่แตกตาง ซึ่งกรณีของกลุมผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวีก็จะไดรับประโยชนจาก

               บทบัญญัติดังกลาวเชนกัน เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
               มาตรา 30 วรรคสาม จะพบวาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ อาทิ การบังคับใหมีการตรวจเลือดเพื่อหา
               เชื้อเอชไอวีของผูสมัครงานหรือพนักงาน ไมวาระหวางการจัดหางาน การสมัครงานหรือการจางงาน รวมตลอด
               ถึงการเลิกจางพนักงานดวยเหตุที่เปนผูอยูรวมกับเชื้อเอชไอวีถือวาเปนการกระทําที่ขัดตอรัฐธรรมนูญ นอกจาก
               การกระทําที่ขัดตอบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญแลว พบวา การกระทําของนายจางบางประการ อาทิ การเขาถึง

               ขอมูลดานสุขภาพของลูกจางโดยไมไดรับความยินยอม หรือการขอใหโรงพยาบาลแจงผลการตรวจสุขภาพและ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21