Page 81 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 81
69
ต้องรับคนพิการลูกจ้าง 100 คนต่อคนพิการหนึ่งคน ตัวชี้วัดกระบวนการ มีการฝึกอบรม
และสร้างความตระหนักให้กับคนพิการ ที่ส่วนใหญ่คนพิการจะมาจากรากหญ้าหรือ
ชนบท ซึ่งเขาจะไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ มีกลไกหรือกระบวนการในการสร้าง
ความตระหนักรวมถึงการมีทัศนคติของคนในสังคมที่ดีต่อคนพิการ
ในเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ และสวัสดิการ ที่เกี่ยวกับคนพิการควรเน้นการเข้าถึง ตัวชี้วัด
ทุกตัวควรมีมิติเกี่ยวกับคนพิการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีการให้สิ่งอ านวยความ
สะดวกอย่างเหมาะสมและมีเหตุผล
ตัวชี้วัดผลจ านวนที่ผู้พิการร้องเรียนว่ามีการเลือกปฏิบัติ อยากจะให้เพิ่มส านักงาน
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและพัฒนา
ความมั่นคงของมนุษย์ เข้าไปในการได้รับขัอมูลในตัวชี้วัด
เพิ่มตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ให้ดูที่คุณภาพชีวิตของคนพิการให้มากขึ้นด้วย เมื่อเปรียบเทียบ
ชีวิตของคนพิการจากอดีตกับปัจจุบัน
เน้นการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีการต้อนรับคนพิการและมีสิ่งอ านวยความ
สะดวก การเข้าถึงฐานข้อมูล การเข้าถึงสิทธิทุกๆ อย่าง ขอให้พิจารณาเรื่องอนุสัญญา
คนพิการด้วย
นอกจากนั้นที่ประชุมยังมีข้อสังเกตว่าข้อมูลต่างๆ ที่จะต้องใช้เพื่อพิสูจน์เกณฑ์ ยังไม่มีการ
จัดเก็บ ไม่มีข้อมูลในบางด้าน หรือมีข้อมูลไม่พอเพียง นอกจากนั้นข้อมูลที่หน่วยงานที่เป็นผู้ปฏิบัติมีอยู่อาจ
ซ้ าซ้อน หรือไม่ตรงกัน ซึ่งอาจเป็นปัญหาในการประเมิน ดังนั้นจึงควรมีแนวทางในการจัดหาข้อมูล
นอกจากนั้นที่ประชุมเสนอว่าเมื่อปรับแก้ตัวชี้วัดแล้ว ควรที่จะให้หน่วยงานที่เป็นผู้ปฏิบัติ พิจารณาความ
เหมาะสมดูอีกครั้ง
(ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 7)
3.3.3 สรุปผลการสัมมนาครั้งที่สาม (การวิจารณ์รายงานการจัดท าตัวชี้วัด)
เมื่อได้จัดท าร่างชุดตัวชี้วัดสุดท้ายแล้ว คณะผู้ศึกษาได้มีการจัดประชุมเพื่อวิจารณ์รายงาน
การศึกษาโครงการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจาก
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการวัดผล ขึ้นในวันที่ 10 เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ณ ห้องประชุม
ส านักงาน กสม. มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวม 25 คน
การสัมมนาแบ่งเป็น สามช่วง ดังนี้
ช่วงแรก เป็นการน าเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ วิธีการศึกษา
และพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ผลจากการศึกษาโครงการ ข้อสรุปและข้อเสนอแนะจากการศึกษาตาม
โครงการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย ศรีรัตน์ ผู้อ านวยการศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หัวหน้าคณะผู้ศึกษา (ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 9)