Page 78 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 78
66
ตัวชี้วัดควรสะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศสามประการคือ
- หน้าที่ในการเคารพ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบการรับรองสิทธินั้นๆ แสดงว่ารัฐมี
“เจตจ านง”
- หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง ซึ่งสะท้อนในด้านนโยบายและการปฏิบัติ โดยใช้
มาตรการด้านต่างๆ รวมถึงการใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่มีอยู่
- หน้าที่ในการท าให้เป็นจริง ดูที่ผลลัพธ์ ซึ่งบางทีรัฐมีมาตรการต่างๆ มากมาย แต่
ผลไม่เกิด ถือว่าไม่บรรลุพันธะหน้าที่
ประเภทตัวชี้วัด มีความสัมพันธ์กับพันธะหน้าที่ ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ ได้แบ่งตัวชี้วัดเป็นสามประเภท คือ
- หนึ่ง ตัวชี้วัดโครงสร้าง (Structural Indicator) ที่บ่งถึงหน้าที่การเคารพ หรือ
เจตจ านงค์ที่จะเคารพ “สิทธิ” คือ การเป็นภาคีข้อตกลงระหว่างประเทศ และการ
รับรองสิทธิไว้ในระบบกฎหมายของรัฐ
- สอง ตัวชี้วัดกระบวนการ (Procedural Indicator) เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อน หน้าที่ใน
การปกปูองคุ้มครอง รัฐจัดให้มีมาตรการต่างๆ เพื่อการปกปูองสิทธิของบุคคล ด้าน
นโยบาย การบริหาร ด้านการสร้างจิตส านึก อบรมบุคลากร การเงินงบประมาณ
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
- สาม ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome Indicator) ผลที่เกิดขึ้นจริง ของการกระท า
สะท้อนหน้าที่ในการ “ท าให้เป็นจริง”
ขั้นตอนด าเนินการพัฒนาตัวชี้วัด
- ขั้นตอนที่หนึ่ง พิจารณาพันธะหน้าที่ของรัฐ
- ขั้นตอนที่สอง พิจารณาองค์ประกอบที่เป็นสาระแห่งสิทธิ
- ขั้นตอนที่สาม ก าหนดตัวชี้วัดสามประเภท
- ขั้นตอนที่สี่ ก าหนดที่มาของหลักฐาน หรือสร้างกระบวนการรายงาน (ขั้นตอนที่
สี่ไม่ได้ด าเนินการในการวิจัยครั้งนี้)
สุดท้าย ตัวชี้วัดจะน าไปสู่การ “เปลี่ยนมุมมองการจาก “เยียวยาการละเมิด” เป็น
“การปูองกันการละเมิด” หรือเปลี่ยนจากระบบ “รายงานโดยที่มีลักษณะเป็นนามธรรม
เชิงคุณภาพ และอัตตาวินิจฉัย” มาเป็น “การใช้การรายงานที่เป็นระบบ มีข้อมูล
หลักฐานอ้างอิงที่จัดเก็บโดยเจ้าของข้อมูล และอยู่บนฐานสิทธิ”
แต่จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ กสม. ต้อง ออกแบบ “ระบบการรายงาน “ระบบการจัดเก็บ” เพื่อ
ประโยชน์ในการประเมิน อาจต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบติดตาม และมีระบบการติดตาม
เพื่อให้มีการรายงานข้อมูลเกิดขึ้นจริง และต้องมีการ “ทบทวน” ตัวชี้วัดอย่างสม่ าเสมอ
หลังจากนั้น นายบุญแทน ตันสุเทพวีระวงษ์ ได้น าเสนอการจัดท าตัวชี้วัดของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่ง
สรุปแนวทางได้ดังนี้
เปูาหมายในการจัดท าตัวชี้วัดต้องชัดเจนทั้งการใช้งาน การติดตาม ตรวจสอบ การพัฒนา
การพัฒนาตัวชี้วัดเริ่มจากการพิจารณาพัฒนาแผน และสร้างศักยภาพให้กับบุคลากรที่มี
บทบาทส าคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง