Page 76 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 76
64
- S = Strategic (มียุทธศาสตร์)
- M = Measurable (การวัดได้)
- A = Accessible (การเข้าถึงได้)
- R = Realizable (การบังคับใช้ได้ สามารถท าได้ และท าให้เป็นจริงได้)
- T = Time-bounded (มีกรอบทางเวลา มีก าหนดระยะเวลาที่แน่นอน)
การจัดท าตัวชี้วัดควรพิจารณากรอบที่พัฒนาโดยสหประชาชาติซึ่งมีสามส่วนคือ
- หนึ่ง โครงสร้างหรือกลไก (Structure) เช่น การเป็นภาคีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน มี
การรายงานตรงตามระยะเวลา
- สอง กระบวนการและวิธีการ (Process) น าข้อเสนอจากคณะกรรมการประจ า
อนุสัญญามาพิจารณาปรับแก้ไข มีกระบวนการการรับค าร้องเรียน จ านวนค าร้องเรียน
ที่ได้แก้ไขภายในกรอบระยะเวลา
- สาม ผลลัพธ์ (Outcome) สิ่งที่เป็นมรรคผลจากการด าเนินการต่างๆ ที่วัดได้จ านวน
สัดส่วน และคุณภาพ เช่น จ านวนคนที่ถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบ โดยไม่มีอ านาจ หรือ
จ านวนบุคคลที่ศาลสั่งให้ปล่อยตัวเนื่องจากถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบ
ควรพิจารณาจัดท าตัวชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนก่อน ตัวชี้วัดที่จะ
พัฒนาขึ้นต้องสอดคล้องกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และต้อง
ครอบคลุม ครบถ้วนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากลเสียก่อน ส่วนจะเลือก
มาแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ผ่านมาของไทย
การพัฒนาตัวชี้วัดตามโครงการนี้ควรใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นพื้นฐาน เพราะกติกาทั้งสองฉบับแตก
มาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และทั้งสามฉบับถือว่าเป็น International Bill
of Rights ส่วนตามกติกาและอนุสัญญาอื่นอีกห้าฉบับไว้ท าในระยะที่สอง
ตัวชี้วัดที่จัดท าตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อาจยังไม่ต้องลงรายละเอียดถึง
กลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้หญิง เพียงแต่เป็นตัวชี้วัดภาพรวม (ซึ่งกลุ่มเฉพาะจะมี
การพัฒนามากขึ้นในการท าระยะที่สอง)
ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสาระแห่งสิทธิโดยใช้ตารางสิทธิตามที่คณะผู้ศึกษา
เสนอเพื่อการพิจารณา
(ดูในรายละเอียดในภาคผนวกที่ 6)
3.3.2 สรุปผลการสัมมนาครั้งที่สอง
การสัมมนาครั้งที่สองมีขึ้นวันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09.00 – 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 148 อาคารสัมมนา 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูล รวม
38 คน จากภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน จ านวน 19 คน
ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน จ านวน 7 คน