Page 73 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 73
61
ให้อธิบายเหตุผลของการใช้การเฆี่ยนตีที่เป็นการลงโทษและการใช้การเฆี่ยนตีเด็ก
ที่กระท าผิดกฎวินัย
มีกลไกใดบ้างที่ตรวจสอบความเป็นอิสระในการด าเนินการของศาลให้ข้อมูลที่
แสดงว่าผู้พิพากษามีเงินเดือนที่มั่นคงพอเพียง
3.2.1.3 ข้อสรุปเชิงเสนอแนะ
ข้อสรุปเชิงเสนอแนะ (Concluding Observations) เป็นเอกสารที่คณะกรรมการ
ประจ าสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนได้เสนอให้กับประเทศไทย หลังจากที่ได้พิจารณารายงานการปฏิบัติตาม
สนธิสัญญาและได้รับฟังการแถลงด้วยวาจาจากผู้แทนรัฐบาล ประกอบกับการพิจารณารายงานคู่ขนานแล้ว
ความเห็นสรุปเชิงเสนอแนะเป็นพื้นฐานในการก าหนดสาระแห่งสิทธิหรือออกแบบตัวชี้วัดให้สามารถบ่งหรือ
ชี้ไปที่ประเด็นที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมือง ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ (ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 2)
ตัวอย่างความเห็นเชิงแนะน าและข้อกังวลของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ า
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น
ประเด็นเรื่องการสนับสนุนสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ มีความกังวลถึงการจัดสรรงบประมาณที่ กสม.
ได้รับที่จะสามารถด าเนินการให้เป็นผลตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อท าหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบ
204
การด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้อ้างหลักการปารีสว่า รัฐภาคีจะต้อง
ท าให้เกิดความมั่นใจได้ว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนจะได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างพอเพียง เพื่อที่จะให้
205
กรรมการได้ท าหน้าที่ต่างๆ ได้ดังที่ได้ก าหนดไว้ในหลักการปารีส
ประเด็นเรื่องการปลอดจากการทรมาน การปฏิบัติที่ทารุณโหดร้าย และสิทธิของ
ผู้ต้องขัง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้ให้ค าแนะน าแก่ประเทศไทยเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ต่อผู้ต้องขังว่า ผู้ต้องขังจะต้อง “เข้าถึง (access to)” อาหารและการรักษาพยาบาล ส่วนการใช้ตรวนกับ
204
Human Rights Committee, “Consideration of Reports Submitted by States Parties under Article 40 of
the Covenant”, (UN Doc. CCPR/CO/84/THA, 8 July 2005), para. 9
205 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยังได้ห่วงใยเกี่ยวกับทรัพยากร (หรืองบประมาณ) ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับ
กสม.ดังปรากฏในข้อสรุปเชิงเสนอแนะว่า “The State party should ensure that recommendations of the
National Human Rights Commission are given full and serious follow-up. It should also ensure that the
Commission is endowed with sufficient resources to enable it effectively to discharge all of its
mandated activities in accordance with the Principles relating to the status of national institutions for
the promotion and protection of human rights (the Paris Principles) (เส้นใต้เน้นโดยผู้ศึกษา)….”