Page 75 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 75

63


                                ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน จ านวน 10 คน

                                ตัวแทนจากองค์กรพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนและกลุ่มผู้ท างานด้านสิทธิมนุษยชน จ านวน 12 คน
                                นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนและการวัดผล จ านวน 6 คน

                                กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่จากส านักงาน กสม. จ านวน 8 คน

                              ในช่วงเช้าของการสัมมนาได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน

               เครื่องมือในการสร้างมาตรฐานการเคารพ ปกป้องคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน”  โดย ศาสตราจารย์
               วิทิต มันตาภรณ์ ศาสตราจารย์ประจ าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิ
                        208
               มนุษยชน  และเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดท าตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชน
               ระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เข้าใจลักษณะตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน วัตถุประสงค์ ประโยชน์

               และหลักการส าคัญในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งได้มีการซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
               ระหว่างวิทยากร คณะผู้ศึกษา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้เข้าร่วมการสัมมนา


                              หลังจากนั้นเป็นการอภิปรายและระดมความคิด เรื่อง “กรอบ แนวคิด และปัจจัยในการ
               พัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน”  ด าเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย ศรีรัตน์ ศูนย์กฎหมายสิทธิ
               มนุษยชนและสันติศึกษา สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                              ในช่วงบ่ายเป็นการแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อการอภิปรายและ

               ระดมความคิดเกี่ยวกับกรอบ แนวคิด และปัจจัยในการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน

                                                     209
                              ประเด็นที่ได้จากการสัมมนา  มีข้อสรุปดังนี้
                                ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือที่ กสม.ใช้ในการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการ
                                ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครอง การเคารพ และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล  และ
                                กสม. นอกจากนั้นยังเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนงาน และโครงการต่างๆ ในการ
                                ด าเนินงานของ กสม.

                                ตัวชี้วัดเป็นกรอบของการปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มีสภาพที่เอื้อต่อ
                                เพื่อนมนุษย์ทั้งหมด ตัวชี้วัดท าให้เกิดการเชื่อมต่อกับมาตรการต่างๆ ของรัฐได้ ในด้าน

                                กฎหมายและการน าไปสู่แผนงานหรือนโยบาย (policy) และการปฏิบัติเพื่อให้สิทธิมีขึ้นจริง
                                ตัวชี้วัดที่ดีควรจะต้องมีหลักเกณฑ์ คือ มีความเป็นสากล เช่น บนพื้นฐานของสนธิสัญญา
                                ตราสาร ประกอบไปกับเกณฑ์เครื่องบ่งชี้หรือที่เป็นตัวชี้วัด การสะท้อนหลักการไม่เลือก

                                ปฏิบัติ และจะต้องมีกลไกที่เกี่ยวข้องด าเนินการ เช่น ส านักงาน กสม. ส านักงานคณะกรรมการ
                                พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศาลยุติธรรม เป็นต้น
                                ตัวชี้วัดควรค านึงถึงความเหมาะสม มีไม่มากเกินไป และมีความง่ายพอสมควร ในทาง

                                วิชาการจะมีหลักเรื่อง SMART  Indicators ที่กล่าวถึงตัวชี้วัดที่ดีดังนี้


               208
                   ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์  เคยเป็นผู้จัดท ารายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการค้าเด็ก การบังคับเด็กให้เป็น
                  โสเภณี และสิ่งลามกอนาจารเกี่ยวกับเด็ก
               209  รายละเอียดการสัมมนา โปรดดูในภาคผนวกที่ 6
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80