Page 71 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 71

59


               เบื้องต้น (Initial  Report)  ซึ่งเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
               พลเมืองและสิทธิทางการเมือง ดังนั้น คณะผู้ศึกษาจึงใช้รายงานฉบับนี้เป็นแหล่งข้อมูลในการพิจารณา


                              3.2.1.1 ข้อเสนอแนะตามกระบวนการการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของสิทธิมนุษยชน
                                     ตามวาระ (UPR)


                                     กระบวนการการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของสิทธิมนุษยชนตามวาระ (กระบวนการ
               UPR)      เป็นกระบวนการพิจารณาสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศ โดยรัฐภาคีของ
                           194
               สหประชาชาติ
                                     ในกรณีของประเทศไทย รัฐบาลไทยได้เสนอรายงาน UPR  ครั้งแรก เมื่อเดือน

               มิถุนายน พ.ศ. 2554  และได้น าเสนอรายงานด้วยวาจาต่อคณะท างานว่าด้วย UPR (Working  Group  on
               UPR)  เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554  หลังจากนั้นคณะท างานฯ ได้จัดท าประเด็นพร้อมด้วยข้อมูลที่ได้รับจาก
               รายงานคู่ขนาน (Alternative Reports) ของ กสม. และภาคประชาสังคม ต่อมาคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง
               สหประชาชาติ (Human Rights Council) ได้พิจารณารายงานของประเทศไทย เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2555
                                                                195
               พร้อมทั้งได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ประเทศไทยจ านวน 172 ข้อ  (ดูรายละเอียดในภาคผนวกที่ 3) ซึ่งรัฐบาลไทย
               ได้ตอบรับจ านวน 134 ข้อ และไม่รับ จ านวน 38 ข้อ เช่น

                                       เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตในความผิดที่ไม่เกี่ยวกับความรุนแรง (R.89.26
                                        เสนอโดยฮังการี)
                                       ให้ประกาศการระงับใช้การประหารชีวิตหรือให้เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิต
                                        เป็นโทษที่เบากว่า เพื่อให้เป็นไปตามที่ได้เขียนไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                                        (R.89.27-8932)
                                       ให้มีกฎหมายให้อ านาจแก่คณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดอง

                                        แห่งชาติ (The Truth for Reconciliation Commission of Thailand) ในการ
                                        รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานรัฐและเอกชน รวมถึงการเรียกพยานมาให้ปากค า
                                        (R.89.45)

                                       เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารของ
                                        อนุสัญญา ค.ศ. 1967 (R.89.70)

                              3.2.1.2 ประเด็นปัญหาและการขอข้อมูลเพิ่มเติมในการรายงานการปฏิบัติตามกติกา

                                     ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                                     ประเด็นค าถาม (List of Issues) ในกระบวนการพิจารณารายงานตามกติการะหว่าง
               ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  คือ ประเด็นของค าถาม หรือการขอข้อมูลเพิ่มเติมที่

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ขอจากรัฐ



               194
                   Office of the High Commissioner for Human Rights, “Basic Fact about UPR” Supra note. No. 6
               195
                   Office of the High Commissioner for Human Rights, “Universal Periodic Review – Thailand”, [online]
                  Available at http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/UPR/PAGES/THSession12.aspx,  (10 October 2012).
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76