Page 72 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 72

60


               ภาคีที่เสนอรายงานในกรณีที่รัฐให้ข้อมูลในรายงานไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการฯ ดังนั้น
               ประเด็นค าถามจึงเป็นข้อมูลที่ส าคัญที่ใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาก าหนดเป็นตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนได้  เช่น

               ในการเสนอรายงานตามพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Initial
                                      196
               Report) ของประเทศไทย  มีประเด็นค าถามที่ครอบคลุมข้อบทต่างๆ ของกติกาฯ หลายๆ ประเด็น ซึ่ง
               ประเด็นเหล่านั้นปรากฏอยู่ในภาคผนวกที่ 1  ของรายงานการศึกษาฉบับนี้ และผู้ศึกษาได้ท าเครื่องหมายเน้น
               ประเด็นส าคัญไว้ในเอกสารนั้นแล้ว ตัวอย่างประเด็นค าถาม เช่น


                                     ประเด็นเรื่องความมีผลของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
               ทางการเมือง ที่จะกล่าวอ้างสิทธิให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายภายในประเทศ

                                       ให้ยกกรณีตัวอย่างที่แสดงว่าบุคคลสามารถยกสิทธิตามข้อบทในกติการะหว่าง
                                                                                                    197
                                        ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ขึ้นกล่าวอ้างในศาลได้
                                       จ านวนค าร้องเรียนต่อกสม.ว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและจ านวนค าร้องที่มีการ
                                                                                  198
                                        ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งผลของการตรวจสอบ

                                     ประเด็นเรื่องสิทธิในชีวิตและการปูองกันการทรมาน

                                       รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่าง
                                                                                       199
                                        ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือไม่
                                       รายละเอียดของความผิดอาญาที่มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว และนโยบายของ
                                                                                                 200
                                        รัฐเกี่ยวกับการก าหนดให้ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมีโทษประหารชีวิต
                                       ข้อมูลจ านวนผู้ที่ถูกประหารชีวิตในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และจ านวนผู้ที่ถูกด าเนินคดี
                                                                                 201
                                        ด้วยโทษประหารชีวิตที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
                                       มีการเยียวยาทางศาลส าหรับบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการกระท าของ
                                        เจ้าพนักงานที่บังคับใช้กฎหมายหรือทหารหรือไม่  ข้อมูลตัวเลขของจ านวนคดี
                                                          202
                                        และผลของคดีเหล่านั้น

                                     ประเด็นสิทธิที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของบุคคล สิทธิในการได้รับการ
               พิจารณาอย่างเป็นธรรม (ในข้อ 9, 10 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง)

                                       ให้อธิบายถึงเหตุผลหรือความจ าเป็นที่จะต้องใช้ตรวนกับนักโทษในความผิดที่มี
                                                      203
                                        โทษประหารชีวิต

               196
                  Human Rights Committee, “List of issues to be taken up in connection with the consideration of the
                  initial report of THAILAND, (CCPR/C/THA/2004)”, (UN Doc No. CCPR/C/84/LTHA), 28 April 2005
               197   Ibid. para. 1
               198   ibid. para. 3
               199   ibid. para. 2
               200
                   ibid. para. 10
               201
                   ibid. para. 12
               202
                   ibid. para. 13
               203   ibid. para. 14
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77