Page 70 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 70

58


                              ปัจจุบัน (ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)) รัฐบาลไทยมีพันธะหน้าที่ที่จะต้อง
               เสนอรายงานตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ กสม. และภาคประชาสังคมอาจเสนอ

               รายงานคู่ขนาน เพื่อให้ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ต่อกลไกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูล
               ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกลไกระหว่างประเทศในการพิจารณารายงานของรัฐบาลต่อไป

                              รายงานดังกล่าว ประกอบด้วย

                                รายงานตามกระบวนการการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของสิทธิมนุษยชนตามวาระ
                                 (UPR) ซึ่งเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
                              ส่วนรายงานที่จะต้องเสนอต่อคณะกรรรมการประจ าสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ

               ประกอบด้วย
                                กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                                กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
                                อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

                                อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
                                อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก สองฉบับ คือ

                                 -  พิธีสารเลือกรับเรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก
                                 -  พิธีสารเลือกรับเรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ

                                อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติอื่นๆ หรือการลงโทษที่โหดร้าย
                                ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ ายีศักดิ์ศรี
                                อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ


                              รายงานการปฏิบัติตามสนธิสัญญา และรายงานคู่ขนาน (Alternative  Reports) เป็น
               เครื่องมือที่มีความส าคัญต่อการสร้างรากฐานของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม สร้างแรงกดดันทาง
               การเมือง เพื่อให้เกิดการปฏิรูป ผ่านกระบวนการจัดท ารายงานคู่ขนาน รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความ

               ตระหนักต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบายที่เคารพต่อสิทธิ
               มนุษยชน ดังนั้นในการก าหนดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับปัญหาอันเฉพาะของประเทศไทยจึงจ าเป็น
               ที่จะต้องพิจารณารายงานตามกระบวนการปฏิบัติตามสนธิสัญญา ที่รัฐบาลเสนอต่อองค์การระหว่างประเทศ
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอแนะหรือประเด็นห่วงใยที่คณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้เสนอต่อ

               รัฐบาลไทย

                              รายงานที่จะต้องพิจารณาตามข้อก าหนดของโครงการนี้จึงเกี่ยวข้องกับรายงานตาม UPR
               และรายงานตามสนธิสัญญาสองฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

               และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  อย่างไรก็ดีนอกจากรายงานตาม
               กระบวนการ UPR ซึ่งประเทศไทยได้เสนอรายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนใน พ.ศ. 2555 แล้ว ประเทศ
               ไทยได้เคยเสนอรายงานตามสนธิสัญญาต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  (Human Rights Committee) และ
               คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งสองคณะเพียงฉบับเดียว คือ รายงาน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75