Page 415 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 415

337


                   ทารุณกรรม บางเรื่องได้รับการดูแลจดทะเบียนเป็นเด็กที่ได้รับการคุ้มครอง การดูตัวเลขเป็นตัวชี้วัดตาม
                   หลักสิทธิเด็ก หลังจดทะเบียนท าอะไรบ้าง ผลจากการชี้วัดเป็นอย่างไร

                         ดัชนีชี้วัดในเชิงปริมาณเป็นเรื่องอันตราย ขณะเดียวกันตัวชี้วัดเชิงคุณภาพมีปัญหาในการใช้ต้องมี
                   ดุลพินิจ อะไรเป็นกรอบในการก าหนดดุลพินิจ Human Rights Indicators ควรจะก าหนดกรอบในการใช้
                   ดุลพินิจ เอามาจากกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเนื้อหาด้านหลักการ (principles) เป็นตัวก าหนดดุลพินิจ
                   เช่น ประโยชน์สูงสุดของเด็ก การที่เด็กเข้าสถานพินิจเป็นประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือไม่ ต้องดูว่ามี

                   สถานการณ์ที่จ าเป็นหรือไม่  เช่น ข้อ 10 การแยกเด็กเพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของเด็ก ดูจากสถานการณ์ ว่า
                   พ่อแม่ตีลูกเลี้ยงดูลูกไม่เป็น ต้องแยกออกมา หรือการมีสภาพทางจิตใจจ าเป็นต้องแยก แยกมาระยะเวลา
                   ยาวนานแค่ไหนนั้นสอดคล้องกับประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือไม่  ตัวชี้วัดทุกตัวขอให้มีการวิเคราะห์วิจารณ์

                   ตัวชี้วัดต่างๆ ต้องชี้ให้เห็นว่าได้ปฏิบัติตามพันธกรณีครบถ้วนสมบรูณ์แค่ไหน
                         5. ทุกกฎหมายระหว่างประเทศ จะมีค าว่า ตัวบทกฎหมาย  อาจารย์วิชัยน่าจะไปวิเคราะห์เรื่องที่
                   ศาลฟิลิปปินส์ตีความว่ากรรมการสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์ไม่มีสิทธิที่จะน ากติกาอีกฉบับมาใช้ เพราะว่า
                   ในรัฐธรรมนูญไม่มี ซึ่งเป็นการตีความของศาลรัฐธรรมนูญที่ผิดหลักการของกติกา เพราะกติกานั้นต้อง
                   ยอมรับตัวบทกฎหมาย การที่ยอมรับสถานภาพตอนนั้นก็คือเท่ากับรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายหรือข้อ

                   กฎหมายในอนุสัญญาต่างๆ หรือในกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อเป็นรัฐภาคีและยอมรับไปแล้ว  ก็คือ
                   มาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญที่น าไปใช้ อาจารย์วิชัยต้องอธิบายให้ละเอียด เราต้องไม่รับอนุสัญญาที่ขัดกับ
                   รัฐธรรมนูญเท่ากับละเมิดอธิปไตย จริงๆ แล้วไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยพราะเราไปยอมรับ ไม่ได้มีการบังคับ

                   ให้ยอมรับ แต่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นอีกเรื่องซึ่งมีแต่หลักการกว้างๆ ไม่มีตัวบทกฎหมาย แต่
                   ตัวอื่นมีหมดจะบอกว่าขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้เพราะเรารับมาแล้ว เพราะเป็นตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน

                         ดร.จาตุรงค์ บุญรัตนสุนทร

                         เจาะอ่านเฉพาะจุดที่คิดว่าส าคัญ เพื่อที่จะได้ให้ความเห็นที่จะน าไปสู่การทบทวน เริ่มตั้งแต่ชื่อ การ
                   จัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค าว่าเบื้องต้นอาจารย์ได้อธิบาย
                   ไว้ในรายงานหน้าที่ 9 เรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดเบื้องต้นคืออะไร มีค าจ ากัดความว่าอย่างไร ถ้าเราก าหนดเรื่อง
                   ของการท าวิจัยครั้งนี้ ท าให้การวิจารณ์ในเรื่องกว้างๆ ไม่ได้ลงลึก ค าว่าเบื้องต้นจะต้องครอบคลุมหลักการ

                   ส าคัญในเรื่องของสิทธิมนุษยชนไว้ทั้งหมด ซึ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศได้ให้สัตยาบันได้
                   กล่าวถึงสิทธิไว้ครอบคลุมทั้งหมด แต่เป็นกรอบกว้างๆ หากลงไปในรายละเอียดแต่ละอนุสัญญาฉบับต่างๆ ก็
                   จะเป็นเรื่องเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายหรือเฉพาะประเด็นไป
                         ถ้ากติกาเป็นอย่างนี้ งานที่อาจารย์ท ามาค่อนข้างครอบคลุม เพราะฉะนั้นบางทีอาจจะต้องลดความ

                   คาดหวังต่องานชิ้นนี้ว่าถ้าจะให้ละเอียดไปชี้วัดเรื่องการละเมิดสิทธิในแต่ละกลุ่มเป้าหมายอาจจะยังไม่ใช่
                   วัตถุประสงค์ที่ส าคัญของการท างานชิ้นนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในเบื้องต้นก่อน
                         ตัวชี้วัดเบื้องต้นเป็นการก าหนดตัวชี้วัด ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายไว้ชัดเจนว่าไม่ได้มุ่งเน้นไปในเรื่องการ

                   พัฒนาหรือยกระดับเกณฑ์คุณค่าของสิทธิมนุษยชนขึ้น นัยหมายถึงว่าตัวชี้วัดนี้ก าหนดไว้เป็นหลักไว้กว้างๆ
                   แต่ยังไม่ได้น าไปวัดอะไรเพื่อที่ไปพัฒนาอะไรที่สูงขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งถ้าจะท าอย่างนั้นจะเข้าไปสู่การ
                   ก าหนดตัวชี้วัดที่เราเรียกว่า gross  approach  น าไปเปรียบเทียบว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นแบบนี้ แล้วมี
                   ตัวชี้วัดอย่างนี้ ถ้าเราต้องการพัฒนาต้องก าหนดตัวชี้วัดอย่างไร ซึ่งจะไปก าหนดเรื่องเกณฑ์ชี้วัด ในตัวชี้วัดใน
                   แต่ละตัวอีกทีหนึ่ง อาจารย์สมคิดจะช่วยได้ในเรื่องการใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัด และการก าหนดตัวชี้วัด




                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 3
   410   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420