Page 412 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 412

334


                   ประชาชนพลเมืองจะได้รับสิทธิในการคุ้มครองที่จะไม่ถูกภัยพิบัติ โดยที่คาดการณ์ได้อย่างไรบ้าง เมื่อเกิด
                   ภัยพิบัติแล้วความมั่นใจว่ากลไลในการเข้าถึง การเยียวยา การช่วยเหลือขั้นต้น มันรวดเร็วเพียงพอที่จะไม่

                   สูญเสียซ้ําซ้อน ไม่ว่าจะเป็นไฟดูด จมน้ํา เพราะฉะนั้นคงจะต้องถอดบทเรียนหรือเอาบทเรียนที่เขาทํากันไว้
                   มาสร้างเป็นตัวชี้วัดขึ้นมา ตรงนั้นสําคัญมาก เพราะว่าเราเจอภัยพิบัติกันหลายรอบแล้ว

                         คุณสันติ ลาตีฟี  -  ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากที่ท่านทั้งหลายได้กรุณามาในวันนี้ ความคิดเห็น

                   ทั้งหมด รวมถึงข้อมูลที่ท่านกรุณาให้ในวันนี้ ทางคณะผู้ศึกษาก็จะนําไปปรับในเอกสารตัวชี้วัด สุดท้ายผมคง
                   จะไม่สรุป เพราะว่าข้อมูลทั้งหมดเป็นประโยชน์และจะถูกบรรจุลงไปในเอกสารเหล่านี้ และนําไปใช้ให้เกิด
                   ประโยชน์ในหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง กสม. ในการที่จะจัดทํารายงานประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิ

                   รวมทั้งรายงานคู่ขนานที่จะส่งให้กับคณะกรรมการประจําสนธิสัญญาที่เป็นของ UN เพื่อนําไปสู่การทบทวน
                   อย่างที่พี่บุญแทนได้บอกไว้แต่ต้นว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่จะนํามาจับผิด แต่เป็นสิ่งที่เราจะปรับปรุงสถานการณ์ของ
                   พวกเรา และทําให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชน และเป็นสังคมแห่งการ
                   แบ่งปันและเอื้ออาทร สํานักงาน กสม. ท่าน ผศ. วิชัย ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะผู้ศึกษาขอบพระคุณมาก
                   ครับ และขอเชิญรับประทานอาหารที่ด้านนอกครับ ขอบพระคุณครับ





                   ปิดการสัมมนา เวลา 12.38 น.









































                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416   417