Page 411 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 411
333
อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็น คือ กลุ่มคนเปราะบาง หรือคนที่ด้อยโอกาสกว่าคนอื่นในสังคม ซึ่งคิดว่าน่าจะ
อยู่ในกลุ่มคนพิเศษนี้ ถ้าพูดถึงกลุ่มที่เปราะบาง หรือกลุ่มที่ด้อยโอกาสกว่าเรา อาจจะมองค่อนข้างยาก
ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา อีกกลุ่มหนึ่งที่ควรจะมอง คือ กลุ่มของคนที่เป็นคนไทยแต่ไม่รู้รากเหง้าตนเอง ไม่มี
สถานะบุคคลของตนเองกลุ่มนี้ ซึ่งรัฐมีกระบวนการมีนโยบายมีแผนยุทธศาสตร์ของการจัดการอยู่ ตรงนี้
น่าจะมีตัวชี้วัดที่จะบ่งบอกของกลุ่มคนเหล่านี้ด้วยบ้างในเรื่องของสิทธิ ได้รับการจดทะเบียนแสดงฐานะของ
ตัวตน เพื่อสามารถเข้าถึงสิทธิในการได้รับการบริการสวัสดิการของภาครัฐได้ในลําดับต่อไป ต้องกลับไป
เพิ่มเติมในเรื่องของกลุ่มนี้ด้วย มองว่ากลุ่มนี้สําคัญและเป็นตัวที่รัฐควรจะต้องสร้างสิทธิและต้องสร้าง
สวัสดิการมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราจะเข้าสู่สังคม ASEAN กลุ่มนี้ยิ่งจะถูกละเลยยิ่งขึ้น
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - คิดว่าคงไม่มีอะไร ถ้าข้อมูลเยอะมาก เราลืมข้อมูลกลุ่มคนไร้รัฐ
คุณสันติ ลาตีฟี - ขออนุญาตเวลาพอสมควร จะมีท่านผู้แทนท่านใดจะเก็บประเด็นตกค้าง อยากจะ
เพิ่มเติม อยากจะใส่เข้าไป หรืออยากจะแสดงความคิดเห็นอะไรเพิ่มเติมสักเล็กน้อยก่อนที่เราจะไปทาน
อาหารกัน เชิญครับ
คุณแววดาว เขียวเกษม (มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค) - อยากจะเพิ่มในส่วนที่ 5 ข้อ 3 การได้รับการ
บริการทางการแพทย์ที่มีราคาไม่แพง อยากจะเพิ่มในส่วนของตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง น่าจะเพิ่มไปว่าระบบ
การให้บริการของไทยมีด้วยกัน 3 ระบบ เช่น ระบบหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม ส่วนข้าราชการ ซึ่ง
มันจะไปตอบโจทย์ตัวชี้วัดว่า สัดส่วนทางการแพทย์ หรือการจัดสรรงบประมาณมันควรเป็นอย่างไร ตัวชี้วัด
เพิ่มขึ้น ที่จริงในหมวดที่ 5 ตัวเองในฐานะที่ทํางานด้านคุ้มครองผู้บริโภค อยากจะเพิ่มข้อคิดเห็นในหลายๆ
ส่วนเหมือนกัน แต่อาจจะขอพิมพ์เพิ่มเติมเข้ามา อย่างเช่น เรื่องสวัสดิการทางสังคม เหมือนพี่ที่กระทรวง
แรงงานเขาเพิ่มเติมมา ถ้าในหมวดสวัสดิการทางสังคม ซึ่งมันมีมาก ทั้งผู้ที่ไม่ได้ทํางานในภาคเอกชนใน
สถานประกอบการ แต่ว่าเงินสวัสดิการทางสังคม อย่างเช่น นโยบายของรัฐในปัจจุบัน 600 บาท 700 บาท
สําหรับผู้สูงอายุ นั้นคือสวัสดิการทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ที่คนรากหญ้าที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการทางสังคม คน
พิการที่เข้าไม่ถึง อยากจะเพิ่มเติมในส่วนนี้ รบกวนให้ทางคณะผู้ศึกษาส่ง (ร่าง) แล้วอาจจะพิมพ์เพิ่มเข้ามา
เรื่องการบริการทางการแพทย์เห็นได้ชัดเจนว่ามันมีการเหลื่อมล้ํา ยิ่งเปิด AEC การเข้ารับบริการการรักษา
ต่างชาติจะหลั่งไหลเข้ามา ณ ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์ค่อนข้างขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ หรือ
พยาบาล ที่เป็นประเด็นกันอยู่ อยากให้ทางคณะผู้ศึกษาทําตัวชี้วัดเพิ่ม
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ขอบคุณมาก ผมจะส่ง File ทาง e-mail ผมเข้าใจว่าทุกท่านได้ให้ไว้แล้ว ถ้าท่าน
ใดยังไม่ให้ ขอความกรุณาให้ e-mail ไว้ด้วย ผมได้ประโยชน์อย่างมาก นี่คือประโยชน์ของการร่วมมาฟังการ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังคมวิชาการจะเกิด สุดท้ายแล้วประโยชน์จะเกิดกับประชาชน ผมเข้าใจว่าพวก
เราทํางานสิทธิมนุษยชนกันอยู่ ก็อยากจะให้สิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจริง เป็นจุดเริ่มต้น เข้าใจว่าถ้าหากเกิดขึ้น
จริงได้ ก็เกิดจากความเห็นในวันนี้ครับ
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - ได้เห็นในเรื่องภัยพิบัติที่มีอยู่ตัวหนึ่ง คิดว่าเราจะต้องระบุตัวชี้วัด จาก
บทเรียนน้ําท่วม ดินโคลนถล่ม สองสามปีที่ผ่านมาที่พบเจอในประเทศไทยออกมาเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2