Page 410 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 410

332


                   แล้ว สตรีพวกนี้คือสตรีทั่วๆ ไป ซึ่งไม่ได้อยู่ในภาวะยากลําบาก ก็ไม่ควรจะมาวางไว้ตรงนี้ เป็นส่วนเดียวกับ
                   พลเมืองทั่วๆ ไป เพียงแต่ว่าจะวางอยู่ส่วนไหนก็ว่าไป ถ้าพูดเรื่องการเมืองก็ไปอยู่เรื่องการเมืองโดยที่

                   อยากจะให้ทําความเข้าในในหลักการตรงนี้
                         ส่วนสิทธิสตรีที่เป็นกลุ่มพิเศษควรจะใส่ไว้ ถ้าท่านใส่สิทธิสตรีในภาวะตั้งครรภ์ ที่เวียดนามใช้  คําว่า
                   สิทธิในความเป็นแม่ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมแต่ว่าอยากจะเพิ่มเติม จะมีสิทธิสตรีชาติพันธุ์ สิทธิสตรีที่เป็น
                   แม่เลี้ยงเดี่ยวอันเนื่องมาจากอะไรก็แล้วแต่ และอยู่ในภาวะยากลําบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่สามี

                   เสียชีวิตไปอันเนื่องมาจากความรุนแรงในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่เขาไม่รู้เรื่องอะไรด้วย ระเบิดลง
                   ตูมหนึ่ง สามีเสียชีวิตไปแล้ว ตัวเองก็เป็นแค่แม่บ้านมีลูกสามสี่คนอย่างนี้เป็นต้น กรณีอย่างนี้ที่เกิดขึ้นเราจะ
                   เข้ามาอยู่ในกลุ่มสิทธิสตรีพิเศษยากลําบากได้อย่างไร เขาจะเลี้ยงลูกตามลําพังได้อย่างไร หรือว่าสตรีที่ถูก

                   คุมขังแล้วมีลูกก็ตาม สตรีที่มีปัญหาเจ็บไข้แล้วยากจนแล้วปุวยมีลูกหรือไม่มีลูกก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นสตรี
                   พิเศษดิฉันคิดว่าไม่ใช่เฉพาะในภาวะตั้งครรภ์เท่านั้น ควรจะระบุลงไปด้วย เช่น ผู้หญิงแรงงานข้ามชาติ ซึ่ง
                   คิดว่าก็ควรจะระบุลงไปด้วย ที่มาทํางานที่เมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวพม่า ชาวเขมร ชาวลาว แล้วอยู่ในภาวะ
                   ยากลําบาก อาจจะย้ายงาน คนเหล่านั้นจะอยู่อย่างไร ชาติพันธุ์ สตรีพิการ ซึ่งสิทธิของคนพิการเราพูด
                   โดยรวม แต่ว่าสตรีพิการน่าจะแยกออกมาให้ชัด


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ใส่เฉพาะหญิงมีครรภ์ ICCPR สิทธิของแม่ในเรื่อง CEDAW จะมี


                         คุณปัทมา อินทร์ชู (ส านักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ
                   ผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) -  ค่อนข้างจะมีประเด็นคําถามตั้งแต่แรก
                   สงสัยว่าทําไมเอาเด็กและผู้สูงอายุ ไว้ในกลุ่มพิเศษ ซึ่งจริงๆ แล้วกลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่เป็นกลุ่มฐานประชากร
                   โครงสร้างของประชากรโดยปกติอยู่แล้ว ของในเรื่องเด็กเองมีทั้งในเรื่องปกติและไม่ปกติ ซึ่งมองสิทธิของเขา

                   ในฐานะที่เป็นพลเมืองเองต้องมองในสิทธิทุกๆ ด้าน ตั้งแต่การศึกษา การรักษาพยาบาล การมีชีวิตอยู่อย่าง
                   มั่นคงปลอดภัย ไม่มั่นใจว่าไม่มีตัวชี้วัดเกิดขึ้น การที่มีพันธะสัญญาระหว่างประเทศทั้งหลาย ที่มีเยอะแยะ
                   มากมายสําหรับสิทธิเด็กอาจจะต้องกรุณาให้อาจารย์ไปทบทวนเรื่องสิทธิเด็กตามอนุสัญญาต่างๆ ตาม
                   พันธกรณีต่างๆ ด้วย สิทธิเด็กที่อยู่ในกลุ่มบุคคลพิเศษ อยากให้มองไปถึงเรื่องการกระทําความรุนแรงต่อเด็ก

                   จากสมาชิกในครอบครัว ก็จะเป็นตัวที่น่าจะบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิต เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่เราคุยกันในระดับ
                   นานาชาติอยู่แล้วด้วยเหมือนกัน ขอให้เพิ่มเติมตรงนี้ดู
                         ในส่วนของกลุ่มผู้สูงอายุเอง ถ้าพูดถึงในเรื่องสิทธิ ณ ปัจจุบัน กระบวนการทํางานของรัฐที่เกี่ยวกับ
                   สิทธิของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเบี้ยยังชีพ หรือเรื่องการจัดการงานศพ ก็เป็นสิทธิเป็นสวัสดิการ

                   ตามสิทธิที่พึงได้ของผู้สูงอายุ ในประเด็นของผู้สูงอายุในเรื่องของเศรษฐกิจเองก็มีในเรื่องของ สามารถเข้าถึง
                   กองทุน เข้าถึงแหล่งกองทุนเบี้ยยังชีพ การที่มีสิทธิที่จะอยู่กับครอบครัวช่วงบั้นท้ายของชีวิต ได้อยู่กับ
                   ครอบครัวเป็นสิทธิตัวหนึ่งที่เราพยายามส่งเสริมให้อยู่กับครอบครัว คงมีประเด็นในหลายๆ ตัวที่เกี่ยวข้องกับ

                   ผู้สูงอายุ ซึ่งตรงนี้มี พ.ร.บ. ของผู้สุงอายุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาจจะต้องเข้าไปดู และทบทวนในรายละเอียด
                   บางเรื่องดูว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุหรือไม่
                         ปัจจุบันมีเรื่องของการส่งเสริมในเรื่องของการทําสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับผู้สูงอายุ ซึ่งจะมี
                   ลักษณะเดียวกันกับผู้พิการซึ่งตรงนี้เองอาจจะต้องเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ผู้เป็นเจ้าของสถานประกอบการ
                   สถานที่ราชการ อาคารสถานที่ต่างๆ ที่มีสัดส่วนของการเอื้ออํานวยต่อการใช้ชีวิต การเดินทาง การเข้าไป

                   ร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุ มากน้อยขึ้นหรือไม่ ตรงนี้ก็เป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่ง

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415