Page 40 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 40
28
บทที่ 3
กระบวนการและวิธีการการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทนี้จะอธิบายวิธีการและกระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัดที่คณะผู้ศึกษาได้ด าเนินการในการจัดท า
ตัวชี้วัดตามโครงการนี้ โดยแบ่งเป็นห้าหัวข้อ คือ
1. การก าหนดแหล่งที่มาของพันธกรณีสิทธิมนุษยชนและสาระแห่งสิทธิ
2. การก าหนดข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
3. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. การสัมภาษณ์เชิงลึก
5. กระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัด
3.1 การก าหนดแหล่งที่มาของพันธกรณีสิทธิมนุษยชนและสาระแห่งสิทธิ
ขั้นตอนส าคัญในการจัดท าตัวชี้วัดขั้นตอนหนึ่ง คือ การก าหนดพันธกรณีระหว่างประเทศ (Identification
of Legal Obligations) และสาระแห่งสิทธิ (Identification of Element of Rights) ตามที่ปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้ประกาศรับรองว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่อาจพรากจากมนุษย์ได้ สิทธิเหล่านั้นมี
ลักษณะเป็นคุณค่าพื้นฐานแห่งความเป็นมนุษย์ แต่เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นค าที่มีลักษณะเป็นเกณฑ์ที่เป็น
ปทัสถาน (Normative) จึงก่อให้เกิดปัญหาถึงสาระและขอบเขต เมื่อได้จัดท าอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนด้าน
ต่างๆ ขึ้น ท าให้สิทธิต่างๆ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนและองค์กร
ต่างๆ ที่ด าเนินงานเกี่ยวข้องกับสิทธิด้านนั้นๆ ได้พัฒนา “สาระแห่งสิทธิ (element of right)” ขึ้น เพื่อ
อธิบายขอบเขต ความหมาย และเงื่อนไขที่ประกอบเป็นสิทธิต่างๆ
ดังนั้น ในการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงจ าเป็นต้องค านึงถึง
“สาระแห่งสิทธิ” ดังที่คณะกรรมการประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(Human Rights Committee) และคณะกรรมการประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม (Committee on Economic Social and Cultural Rights) และองค์กร หรือสถาบัน
สิทธิมนุษยชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ให้ความเห็นไว้เป็นส าคัญ
สาระแห่งสิทธินั้นสามารถวิเคราะห์ได้จากแหล่งที่มาของพันธกรณีระหว่างประเทศ ดังนั้นในการก าหนด
ตัวชี้วัดตามโครงการนี้ จึงจ าเป็นต้องศึกษาสาระแห่งสิทธิที่รับรองในแหล่งที่มาของพันธกรณีระหว่างประเทศ
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแผนภูมิในการก าหนดพันธะหน้าที่และสาระแห่งสิทธิ ดังนี้