Page 43 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 43

31


               การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยที่กฎบัตรฯ มิได้นิยามหรือแจกแจงว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ดังนั้น ปฏิญญาสากล
               ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จึงเป็นเอกสารเสริมกฎบัตรฯ ช่วยท าให้ค าว่าสิทธิมนุษยชนมีความหมายชัดเจนขึ้น  แม้ว่า

               ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ไม่มีผลผูกพันในฐานะเป็นสนธิสัญญา แต่ถือได้ว่าหลักการต่างๆ ที่รับรอง
               ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้มีการยอมรับจนถือได้ว่าเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
               ดังได้อธิบายแล้วในบทที่ 2 ข้างต้น


                              ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้รับการท าให้ชัดเจนขึ้นโดยกติการะหว่างประเทศสอง
               ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
               สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ
               ทางการเมือง  และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นส่วนที่แตก

               ออกมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น ซึ่งตราสารทั้งสามฉบับนี้ได้รับการ
               ยอมรับว่าเป็น “กฎบัตรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ดังนั้นการพิจารณาพันธกรณีตามปฏิญญาสากลว่า
               ด้วยสิทธิมนุษยชน  จึงต้องพิจารณาประกอบกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
               เมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ด้วยเสมอ


                        3.1.2 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง


                              กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
               on  Civil  and  Political  Rights: ICCPR) เป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมีฐานะเป็น
               กฎหมายระหว่างประเทศที่ผูกพัน หรือก่อพันธกรณีระหว่างประเทศต่อรัฐ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
               พลเมืองและสิทธิทางการเมือง แบ่งเป็น หกส่วน ดังนี้


                              ส่วนที่หนึ่ง วรรคอารัมภบท กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตร
               สหประชาชาติ รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และได้รับสิทธิทั้งด้านพลเมือง
               การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อย่างเท่าเทียมกัน


                              ส่วนที่สอง ก าหนดสิทธิในการก าหนดเจตจ านงตนเอง (right of self-determination)

                              ส่วนที่สาม พันธกรณีของรัฐภาคีที่รับรองจะเคารพและประกันสิทธิของบุคคล รวมถึงการ

               ห้ามการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง
               สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นก าเนิด หรือสภาพอื่นใด โดยจะด าเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
               ภายในประเทศ ประกันว่าบุคคลที่ถูกละเมิดจะได้รับการเยียวยา ไม่ว่าบุรุษหรือสตรีจะได้รับสิทธิพลเมืองและ
               สิทธิทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน การลิดรอนสิทธิในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการห้ามการตีความกติกาในอัน

               ที่จะไปจ ากัดสิทธิและเสรีภาพอื่นๆ

                              ส่วนที่สี่ เป็นส่วนที่เป็นข้อบทที่รับรองสิทธิ หรือเป็นสาระของสิทธิทั้งสิทธิทางด้านพลเมือง
               และสิทธิทางการเมือง (ดูรายละเอียดในตารางที่ 2)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48