Page 41 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 41
29
แผนภูมิที่ 1 แหล่งที่มาของพันธะหน้าที่และกระบวนการในการก าหนดสาระแห่งสิทธิ และตัวชี้วัด
โดยที่สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจัดท าขึ้นมุ่งที่จะรวบรวมหลักการที่สร้าง
ปทัสถานทางกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้อยค าในปฏิญญาสากลก็ยังมีความคลุมเครืออยู่มาก ความไม่ชัดเจน
ของถ้อยค าของเอกสารที่ต้องการสร้างปทัสถานทางกฎหมายเป็นข้อจ ากัดที่ถือว่าเป็นปกติ เนื่องจากหลักการ
ทางกฎหมาย ต้องการให้ใช้ได้ทั่วไป จึงจ าเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยค ากว้างๆ เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะต่างๆ
ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นทั้งตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ และตราสารทางกฎหมายภายใน เช่น
รัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ในคู่มือตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้แนะน าว่า
ในขั้นตอนแรกควรจะต้องมีการก าหนด สาระแห่งสิทธิ (หรือมิติของสิทธิมนุษยชน) การจัดท าตัวชี้วัด
สิทธิมนุษยชนจึงจ าเป็นที่จะต้องก าหนด “แหล่งที่มา” เพื่ออ้างอิงสาระแห่งสิทธิ (Right Attributes) เพื่อให้
ครอบคลุม และเป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้
ดังได้กล่าวในบทที่สอง แม้ว่าโดยชื่อ “Declaration” หรือ “ปฏิญญา” ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
ระหว่างประเทศ แต่สาระส าคัญของสิทธิที่รับรองโดยปฏิญญาสากลมีฐานะเป็นจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
ดังนั้น ในบทนี้จะวิเคราะห์พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่ามีเนื้อหา
สาระ อย่างไร