Page 42 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 42
30
คณะผู้ศึกษาได้แบ่งแหล่งที่มาของพันธกรณีที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สองล าดับ คือ แหล่งที่มาหลัก และแหล่งที่มารอง และเนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่มีผล
ท าให้ความเห็นด้านสิทธิมนุษยชนแตกต่างกันนับตั้งแต่การจัดท าร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ต่อมา
เมื่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้วจึงได้มีการจัดท าสนธิสัญญา
สิทธิมนุษยชนส าคัญสองฉบับเพื่อลดความกดดันทางการเมืองคือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR ) และกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic,
Social and Cultural Rights: ICESCR) ตราสารทั้งสองฉบับได้รับการยอมรับว่าเป็น ตราสารสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศ ในการก าหนดพันธกรณีหลัก คณะผู้ศึกษาจึงใช้ข้อบทของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ประกอบกับข้อบทตามกติการะหว่างประเทศสองฉบับนี้เป็นพื้นฐานทางกฎหมายในการก าหนดพันธกรณีของ
ประเทศไทยในการพิจารณาพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ส่วนที่มาล าดับรอง คณะผู้ศึกษาจะพิจารณาจากมาตรฐานระหว่างประเทศที่พัฒนาขึ้นโดยสมัชชา
ใหญ่สหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการประจ า
สนธิสัญญา (Treaty Bodies) เช่น ข้อมติ (Resolutions) ข้อคิดเห็นร่วมอันส าคัญ (General Comments)
และค าวินิจฉัย (Decisions) เป็นต้น
3.1.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR)
เป็นตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกที่ได้ประกาศหลักการส าคัญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของมนุษย์
ในการเคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้สมกับคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของทุกคน ปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจัดท าขึ้นโดยคณะกรรมการร่างซึ่งเป็นตัวแทนของภูมิภาคต่างๆ ที่มีระบบกฎหมาย
ศาสนา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีนางเอลลีเนอร์ รูสเวลท์ เป็นประธานคณะกรรมการร่างปฏิญญาสากล
สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาโดยมติเอกฉันท์ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 (พ.ศ. 2491)
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสามารถแบ่งได้เป็นสี่ส่วนคือ
ส่วนแรก (ข้อ 1 และข้อ 2) บัญญัติถึงหลักการทั่วไปและแนวคิดทางสิทธิมนุษยชน เช่น
สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากจากมนุษย์ได้ หลักความเท่าเทียม และหลักภราดรภาพ
ส่วนที่สอง (ข้อ 3 ถึงข้อ 21) เป็นการรับรองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil
and Political Rights)
ส่วนที่สาม (ข้อ 22 ถึงข้อ 28) รับรองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(Economic, Social and Cultural Rights)
ส่วนที่สี่ (ข้อ 29 และข้อ 30) บัญญัติหน้าที่ของบุคคลต่อสังคม การจ ากัดสิทธิเสรีภาพ
ของบุคคล และการตีความสิทธิตามปฏิญญานั้นจะต้องไม่เป็นการบั่นทอนสิทธินั้นๆ
คุณค่าทางกฎหมายที่ส าคัญที่สุดของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คือ การเป็นตราสาร
อ้างอิงหลักการและเนื้อหาสิทธิมนุษยชนที่รัฐต่างๆ ได้ปวารณาตนเองตามกฎบัตรสหประชาชาติที่จะส่งเสริม