Page 36 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 36
24
เหตุผลส าคัญที่ประเทศต่างๆ ใช้วิธีการแบ่งประเภทสิทธิมนุษยชนเป็นสามประเภท
เนื่องมาจากได้รับวิธีการมาจากการประชุมระหว่างคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งถือว่า
เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการพิจารณารายงานการปฏิบัติตามสนธิสัญญาโดยตรง นอกจากนั้น แนวคิดการแบ่ง
ตัวชี้วัดดังกล่าวยังสะท้อนหน้าที่ของพันธกรณีระหว่างประเทศทั้งสามระดับ คือ หน้าที่ในการเคารพ หน้าที่ใน
การปกปูองคุ้มครอง และหน้าที่ในการท าให้เป็นจริง
ในเดือน พฤษภาคมใน ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติได้ตีพิมพ์หนังสือ “ Human Rights Indicators: A Guideline to Measurement and
Implementation” ขึ้น นอกจากจะท าให้วิธีคิด ระเบียบ วิธีการด าเนินการ และกระบวนการการพัฒนา
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนมีความชัดเจนขึ้นแล้ว ยังท าให้การพัฒนาตัวชี้วัดของประเทศต่างๆ เป็นรูปแบบเดียวกัน
หรือสอดคล้องกันมากขึ้นอันจะช่วยให้การด าเนินการพิจารณารายงานสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการประจ า
สนธิสัญญา หรือคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนมีความรวดเร็วมากขึ้น และช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้
ค าแนะน าที่ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่เสนอรายงานมากขึ้น
ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติ ได้ก าหนดองค์ประกอบของ
48
ตัวชี้วัดภายใต้ค าย่อ “RIGHTS” ซึ่งประกอบด้วย
R – Relevant and Reliable (เกี่ยวโยงและเชื่อถือได้)
I – Independent in its data-collection methods from the subjects
monitors (มีความเป็นอิสระของวิธีการเก็บข้อมูลจากสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ)
G – Global and Universally meaningful but also amendable to
contextualisation and disaggregation by prohibited grounds of
discrimination (มีความเป็นสากลและสามารถปรับแก้เพื่อให้แสดง
ลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติได้)
H – Human rights standards-centric; anchored in the normative
framework of rights (ยึดมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลเป็นแกนกลาง
และยึดกรอบปทัสถานแห่งสิทธิ)
T – Transparent in its methods, Timely and Time-bound (มีวิธีการ
จัดท าที่โปร่งใสทันสมัย และมีกรอบด้านเวลา)
S – Simple and Specific (มีความง่ายและมีความจ าเพาะเจาะจง)
2.3.4 พัฒนาการของการใช้ตัวชี้วัดในงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
นักวิชาการในประเทศไทยได้มีการใช้ข้อมูลสถิติทางสังคมศาสตร์เป็น “ตัวชี้วัด” หรือ “ตัว
49
บ่งชี้” ในงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมานับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์
48
Office of the High Commissioner for Human Rights, Supra Note 39. p. 50.
49
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายงานตัวบ่งชี้สถานภาพสตรี ปี 2540, (กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย,2543); สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายงานเปรียบเทียบตัวบ่งชี้สถานภาพสตรีไทย ปี
2533 ปี 2537 ปี 2541, (กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543).