Page 44 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 44

32


                              ส่วนที่ห้า ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human  Rights  Committee) ซึ่งมีหน้าที่
               รับผิดชอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ก าหนดไว้ในกติกาฯ รวมถึงพันธกรณีในการเสนอรายงาน

               ของรัฐภาคี การยอมรับอ านาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และขั้นตอนการพิจารณาข้อร้องเรียน

                              ส่วนที่หก บทบัญญัติ ห้ามการตีความไปในทางขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ รวมทั้ง
                                                                                 52
               การมิให้ ตีความในการที่จะลิดรอนสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

                              ประเทศไทยเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ใน
               เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับต่อประเทศไทยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2540


                        3.1.3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

                              กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
               Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) เป็นสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่าง

               ประเทศที่ก าหนดให้รัฐรับรองสิทธิต่างๆ ของบุคคลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กติการะหว่าง
               ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน “คู่แฝด”  ของกติกา
               ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)  กติกาฯ ได้รับรองโดยสมัชชาใหญ่

               สหประชาชาติใน ค.ศ. 1966  (พ.ศ. 2509)  และมีผลบังคับใช้เมื่อ ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519)  เนื้อหาของกติกา
               แบ่งเป็น ห้าส่วน ดังนี้

                              ส่วนที่หนึ่ง รับรองสิทธิในการก าหนดเจตจ านงตนเอง


                              ส่วนที่สอง กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐโดยก าหนดให้รัฐต้องด าเนินการต่างๆ เพื่อให้เกิด
               ความก้าวหน้าในการเคารพคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิด้านนี้ให้เป็นจริง


                              ส่วนที่สาม  กล่าวถึงสาระของสิทธิในด้านต่างๆ เช่น สิทธิเกี่ยวกับการท างาน สภาพการจ้างงาน
               สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการ การคุ้มครอง และช่วยเหลือครอบครัว สิทธิทางสังคม การศึกษา การมีส่วนร่วมทาง
               วัฒนธรรม


                              ส่วนที่สี่  ก าหนดพันธกรณีของรัฐในการจัดท ารายงานการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศ
               ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (เป็นที่น่าสังเกตว่ากลไก
               การสองส่องดูแลของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นั้นต่างจาก กติกา
               ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ได้ก าหนดให้ตั้งคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญา

               ขึ้นมาโดยเฉพาะ)

                              ส่วนที่ห้า กล่าวถึงกระบวนการการเข้าเป็นภาคี การแก้ไขเพิ่มเติมของกติกาฯ


               52
                   อัจฉรา ฉายากุล และคณะ พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (กรุงเทพ: โรงพิมพ์ศาสนา
                  ส านักงาน, 2546),  หน้า 20-21.
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49