Page 391 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 391

313


                   เราก็ยังไม่ถึงเปูาหมาย เพราะฉะนั้นเปูาหมายกับตัวชี้วัดผมคิดว่ามันคนละอย่าง การที่เราบอกว่าเราเป็น
                   เปูาหมาย เช่น เราจะเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศ ฉบับที่ 2 (optional protocol) สมมติเราต้องการ

                   ยกเลิกโทษประหาร สิบปีเรายังไม่เป็น เท่ากับว่าเราละเมิด จริงๆ แล้วการรายงานตรงนี้ตัวชี้วัดไม่ใช่ตัวที่จะ
                   มากําหนดตัวเปูาหมายไว้อย่างเดียว ต้องมีการแสดงว่าเราทําตามพันธะหน้าที่หรือไม่ เพราะฉะนั้นการที่จะมี
                   รายชื่อของกติการะหว่างประเทศนั้นว่าเรามีอยู่ แต่ถ้าสังคมเราคิดว่าจะต้องมีอย่างเช่น กติการะหว่าง
                   ประเทศว่าด้วยว่าด้วยการทรมาน ควรจะต้องมีการเข้าเป็นภาคี อาจตั้งไว้ ผมตอบแทนสังคมไม่ได้ ขึ้นอยู่กับ

                   ว่าเราต้องการให้มีหรือไม่ ถ้าหากว่าเราต้องการให้มีก็เป็นตัวชี้วัด

                         ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย

                   บทบาทหญิงชายและการพัฒนา)  -  ขอเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นข้อ 7-8  ได้ว่างตัวชี้วัดเอาไว้ พูดถึงการมี
                   กฎหมายที่ควบคุมว่าด้วยการทําแท้ง มีกฎหมายว่าด้วยการเป็นภาคีสนธิสัญญา ILO  องค์การแรงงาน
                   ระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทํางาน ซึ่งเรามีสิ่งเหล่านี้แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ มี
                   เนื้อหาที่จะต้องปรับหรือว่าเพิ่มทั้งสิ้น ทั้งข้อ 7-8  เพราะฉะนั้นจะต้องใส่รายละเอียดเข้าไปข้อ 7 กฎหมาย
                   ควบคุมการทําแท้งแปลว่าอะไร ต้องใส่ให้ชัดเจน เพราะว่าควบคุม แปลว่าการละเมิดสิทธิ ปัญหาก็คือว่า

                   พรากชีวิตโดยพลการ ก็ต้องไปเถียงกันว่าชีวิตเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ซึ่งต่างประเทศก็เถียงกันว่าเกิดขึ้นตั้งแต่
                   เมื่อไหร่อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นตัวชี้วัดข้อ 7 ตัวชี้วัดข้อ 8 คงจะต้องมีรายละเอียดลึกลงไปกว่านั้นว่าไปสู่การ
                   ควบคุมเรียกว่า สาระแห่งสิทธิ คือ การที่ปลอดจากการพรากชีวิตอย่างไร ตัวชี้วัดกระบวนการมีการรับข้อ

                   ชี้แนะ คําแนะนําขององค์กรระหว่างประเทศต่างๆ คือ เราไม่ได้รับแล้ว เรามีภาระผูกพันแล้ว มีพันธกรณี
                   แล้ว ลงนามแล้ว ดังนั้นมันจะต้องถูกย้ายเข้ามาอยู่ในช่องโครงสร้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น CEDAW  หรืออะไร
                   ก็แล้วแต่ ประเด็นคือว่าจะต้องมีกลไกที่เป็นองค์กรอิสระหรือว่าจะเป็นกฎหมายภายในประเทศที่ถูกตรา
                   ขึ้นมาตามสนธิสัญญาที่ลงนามไว้มากกว่า ในตัวที่เป็นผล การที่มี monitoring system คือว่าระบบของการ

                   ที่ตรวจติดตามการทํางานของกลไกเหล่านั้น หรือว่าการคุ้มครองตามโครงสร้างเหล่านั้นมีระบบติดตามได้
                   อย่างไรที่จะออกข้อมูลให้ได้ชัดเจนเลยว่า จํานวนของคนที่ถูกพรากไปโดยพลการลดลงหรือเพิ่มขึ้นแยกตัว
                   เลขหญิงชายได้ยิ่งดี แยกอายุ อาชีพ พื้นที่ต่างๆ ได้ยิ่งดีเหล่านี้เป็นต้น ตัวข้อมูลที่เป็นสูญญากาศทั้งหลายใน
                   เรื่องของการพรากชีวิตโดยพลการเหล่านี้จะหาได้ที่ไหน จะต้องมีกลไกที่จะสร้างเป็นตัวชี้วัดขึ้นมาที่เรา

                   เรียกว่าจํานวน เปลี่ยนคําพูดให้เป็นเรื่องของระบบตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบการทํางานของกลไกพิเศษที่
                   ถูกสร้างขึ้นมาตามตัวกระบวนการ คณะผู้ศึกษาควรนําไปกรองดูอีกที่ นี่เป็นเพียงข้อคิดเห็นว่าควรจะระบุให้
                   ชัดลงไป


                         คุณพยนต์ สินธุนาวา  (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) -  มีอีกประเด็น
                   เพิ่มเติมเสริมในรายละเอียด คือ ช่วงนี้ผมกําลังก่อสร้างบ้านหนีน้ําท่วม เช่นเดียวกัน ผมทําพิมพ์เขียวไว้
                   เพราะฉะนั้นช่างเข้ามาหลายชุดมาก แต่ละคนก็คือทําตามพิมพ์เขียว ผมกลับมาที่ประเด็นของเรา เราเป็น

                   ภาคี ในภาคีได้บัญญัติไว้ว่าต้องดําเนินการอะไรบ้าง ทําอะไรบ้างมากมาย หน่วยงานของรัฐเอง ไม่เคยนํา
                   พิมพ์เขียวมาคุยพร้อมกันเลย ไม่ว่าจะเป็น CAT,  CEDAW  ซึ่งมีเปูาหมายเดียวกันธงเดียวกันอย่างชัดเจน
                   อย่างเป็นเรื่องเป็นราว มองว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ตัวนี้ในการทําในสิ่งที่ไม่ใช่ตรวจสอบว่าเราเป็นสมาชิก
                   เท่านั้น มองว่าสาระสําคัญของการเป็นสมาชิกไม่ใช่อยู่ที่การเป็นสมาชิก อยู่ที่การสามารถเคลื่อนไปกับ
                   สมาชิก คุ้มครองสิทธิคนได้ เหมือนอย่างเช่น ตามเจตจํานงที่ CAT, CEDAW ต้องการ ซึ่งยังไม่มีตัวนี้เกิดขึ้น

                   ตัวที่ให้แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบต่อ CAT,  CEDAW  ได้ดําเนินการต่อไปต้องเป็นตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัด ส่วน

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396