Page 393 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 393

315


                   ข้อมูลจะมาตรงกลางได้อย่างไร อย่างเช่น CEDAW  เรื่องหนึ่ง เด็กเป็นพันเป็นหมื่นองค์กร มาติดตามได้
                   อย่างไร ตรงนี้น่าคิดกระบวนการ


                         ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
                   บทบาทหญิงชายและการพัฒนา)  -  ขอเพิ่มเติมตรงนี้ว่าคงต้องคิดนวตกรรมขึ้นว่าการออกข้อมูลด้าน
                   สิทธิมนุษยชนที่เป็นข้อมูลกลางจะออกมาได้อย่างไร ถึงแม้จะมีข้อมูลมากองรวมกัน ก็จะต้องมีกระบวนการ

                   ตรวจสอบว่าใช่ข้อมูลอเป็นข้อมูลที่ถูกต้องไหม ยกตัวอย่างเช่น เรามีคณะกรรมการสถิติแห่งชาติ ดิฉันได้ใช้
                   ข้อมูลของสํานักงานสถิติแห่งชาติทุกปี ทุกระยะ ทุกเรื่องที่จะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และกลไกในการออก
                   ข้อมูลมั่นใจว่าถูกต้อง เพราะฉะนั้นเวลาเราต้องการทราบว่าหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นหญิงที่มีรายได้เฉลี่ย

                   เท่าไหร่ เราไม่ได้อ้างใครเลยเราก็อ้างสํานักงานสถิติแห่งชาติ เพราะเราทราบว่ากลไกในการได้มาซึ่งข้อมูล
                   ของสํานักงานสถิติแห่งชาตินั้นถูกต้องก็คือออกสํารวจ แต่การออกสํารวจต้องใช้เงิน  ต้องใช้ปัจจัย ต้องใช้
                   เวลา ต้องใช้กรรมวิธีทางสถิติ ดังนั้นจะยกตัวอย่างว่าเราควรจะมีสํานักงานสถิติที่ว่าด้วยเรื่องของ
                   สิทธิมนุษยชนไหม ซึ่งจะต้องทุ่มเททรัพยากรใช้ผู้เชี่ยวชาญด้วยในการที่จะสร้าง และเป็นสํานักงานแห่งชาติ
                   ที่สามารถที่จะเป็นองค์กรกลางที่จะออกสถิติเหล่านั้นให้คนทั้งประเทศได้นําไปใช้ต่อได้ มีอํานาจหน้าที่ใน

                   การขอข้อมูลจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อที่จะมาสังเคราะห์เป็นข้อมูลประจําปีหรือข้อมูล
                   ตามช่วงเวลาก็ได้ ซึ่งสามารถอ้างอิงได้ ถ้าไม่ทราบว่าทําอย่างไร เราก็อาจจะดูการออกข้อมูลของ UN  เป็น
                   ตัวอย่างก็ได้ที่เขาออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งข้อมูลของไทยหรือแม้แต่ของสํานักงานสถิติของสหรัฐอเมริกาก็ได้ทํา

                   ไปทั่วโลกเหมือนในเรื่องของสิทธิต่างๆ ซึ่งดิฉันไม่ค่อยได้ไปใช้ข้อมูลเหล่านั้น ก็เพราะเกรงว่าเมื่อนํามาใช้ใน
                   งานแล้ว สังคมไทยอาจจะไม่ยอมรับว่าไปใช้ข้อมูลของประเทศนั้นประเทศนี้ เราก็อยากใช้ข้อมูลของประเทศ
                   เราที่ประเทศเรายอมรับกันทุกฝุาย ซึ่งถ้าเรามีสํานักงานคล้ายๆ สํานักงานสถิติแห่งชาติว่าด้วยเรื่องสถิติด้าน
                   สิทธิมนุษยชน ก็จะเป็นอีกที่หนึ่งที่เราจะใช้พึ่งได้


                         คุณอารีรัตน์ โล่ห์ทองมงคล (ส านักงานสถิติแห่งชาติ) - สถิติส่วนใหญ่กับกระทรวงการพัฒนาสังคม
                   และความมั่นคงของมนุษย์ก็ประสานกันอยู่เรื่อง gender  พยายามทําให้ทุกด้าน แต่พอมาสิทธิมนุษยชน
                   ตัวชี้วัดครอบคลุมอยู่หลายเรื่องในงานของเรา แต่กรอบตัวชี้วัดถ้าอยากได้ด้านไหนก็ลองบอกมาอันไหนเรา

                   แทรกในโครงการไหนได้เราก็พยายามจะใส่ให้ แต่ต้องมาประสานกันให้เข้าใจ เพราะว่าเวลาเก็บข้อมูลเก็บ
                   มาจากครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ กับสถานประกอบการ และตอนนี้เราจะมีเรื่องแผนแม่บทของสถิติ 21 สาขา
                   ซึ่งบางท่านในที่นี้อาจโดนเป็นคณะอนุกรรมการ มีเรื่องแรงงาน ถ้าได้ส่วนนี้ที่กระทรวงไปทุกกระทรวง ถ้า
                   เกี่ยวกับตัวชี้วัดก็จะนํามาใส่ในที่ประชุมฯ รู้สึกว่าจะครอบคลุมหมด แผน 5 ปีถ้ามีตัวชี้วัดตัวไหนที่ทางนี้ช่วย

                   ได้จะหาข้อมูลให้

                         คุณสันติ ลาตีฟี  - เข้าใจว่าสํานักงานสถิติแห่งชาติมีข้อมูลค่อนข้างเยอะมาก เพียงแต่ว่าบางทีการจัด

                   หมวดหมู่ของข้อมูลอาจจะยังนําเอามาใช้แบบง่ายๆ ไม่ได้ คือเหมือนกับว่าต้องเอาไปวิเคราะห์กับสังเคราะห์
                   อีก ถ้าเราขอให้ทางสํานักงานสถิติแห่งชาติจัดหมวดหมู่ตามที่เราต้องการได้อย่างนั้น ก็จะสะดวกในแง่ของ
                   การใช้ในการชี้วัดตัวเลขต่างๆ ที่เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เรื่องหญิงชาย เรื่องระดับ
                   การศึกษา แม้กระทั่งเข้าไปถึงเรื่องแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในภาคส่วนต่างๆ คิดว่าเรื่องตรงนี้อาจจะต้องหารือ
                   ใกล้ชิดต่อไป



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398