Page 395 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 395

317


                         คุณพยนต์ สินธุนาวา  (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) -  ในส่วนคําพูดเช่น
                   ว่า โดยพลการ นั้นเป็นศัพท์ของทางสิทธิมนุษยชนหรือไม่ โดยธรรมชาติ โดยพลการ อ่านแล้วมันกว้างๆ โดย

                   ปกติแล้ว ใช้โดยไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย น่าจะชัดเจนมากกว่า ซึ่งตามหลักกฎหมายนั้นมีทั้งหลักกฎหมายตาม
                   รัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายอาญา คือคําว่า พลการ อ่านแล้วเป็นภาษาพูด รบกวนท่านอาจารย์ช่วยดู ถ้าเป็น
                   ศัพท์สากลที่ใช้อยู่ก็ไม่เป็นไรครับ


                         คุณสันติ ลาตีฟี  -   กลุ่มชี้วัดที่ 3  สิทธิในความเท่าเทียมทางกฎหมายและสิทธิในกระบวนการ

                   ยุติธรรมทางอาญา

                         กลุ่มตัวชี้วัด  3.1  การปลอดจากการเป็นทาส หรือถูกบังคับแรงงาน หรือถูกคุมขัง เนื่องจากการไม่
                   ชําระหนี้ทางแพ่ง
                         ตัวชี้วัดทางโครงสร้าง คือ

                         -  การเป็นภาคี ICCPR  อนุสัญญา ILO

                         ตัวชี้วัดกระบวนการ ยังไม่มี

                         ตัวชี้วัดผล ยังไม่มี



                         หัวข้อ 3.2 การได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
                         ตัวชี้วัดทางโครงสร้าง คือ


                         -  ICCPR,  IECSCR, CEDAW, CERD, CRC, CRPD
                         -  การรับรองความเท่าเทียมของบุคคลไว้ในรัฐธรรมนูญและสามารถกล่าวอ้างกับทุกองค์กรได้


                         ตัวชี้วัดกระบวนการ คือ

                         -  มีองค์กรที่มีอํานาจหน้าที่ที่พอเพียงในการติดตามสอดส่องการไม่เลือกปฏิบัติรวมถึงมีหน้าที่ทํา
                            ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางด้านโอกาส

                         -  มีแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติ และมีการนํา
                            แผนไปใช้ในทางปฏิบัติ รวมถึงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียม และความเสมอภาคของบุคคลที่มี
                            ความแตกต่างด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์สภาพทางกาย ฯลฯ ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับชั้น

                         -  มีการทบทวนกฎหมายที่มีเนื้อหาที่เป็นการเลือกปฏิบัติ (de jure discrimination) และกฎหมาย

                            ที่นําไปสู่การปรับใช้ที่ทําให้เกิดการเลือกปฏิบัติ (de facto discrimination) เป็นระยะ

                         -  มีการสนับสนุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านนโยบาย และการเงินแก่กลุ่มที่เสี่ยงต่อการ
                            เลือกปฏิบัติ เช่น ชาวเขา แรงงานต่างด้าว สตรี คนพิการ (ร่างกาย และจิตเวช)

                         -  มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ที่บุคคลกลุ่มเสี่ยง
                            สามารถเข้าถึงได้

                         -  มีการอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ในเรื่องการเลือกปฏิบัติ แก่เจ้าหน้าที่

                            ฝุายตุลาการ กึ่งตุลาการ และเจ้าหน้าที่ที่ให้การบริการสาธารณะ
                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399   400