Page 386 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 386
308
กระบวนการรองรับอื่นๆ ก็แค่นําจํานวนสตรีเข้าไปตั้งไว้ในนั้น ซึ่งอาจจะเป็นภรรยา เป็นลูกสาว เป็นเพื่อน
สาว เป็นอะไรก็แล้วแต่ที่เข้าไปแทนก็ได้ ดังนั้น คําว่า สัดส่วนสตรี หรือว่าโควต้า อาจจะต้องมีคําถามตามมา
ว่าจะต้องไปคู่กับอะไรไหม หรือมีรายละเอียดของการกําหนดที่ชัดเจนว่าเป็นตัวแทนสตรีจริงๆ ไม่ใช่สตรีใน
ฐานะที่เป็นสุภาพสตรีหนึ่งคนเข้าไป เช่น เป็นตัวแทนของกลุ่มสตรีต่างๆ อย่างนี้อาจจะมีคุณภาพมากขึ้น
เวลาพูดถึงตัวชี้วัดที่เป็นเรื่องของการกําหนดนโยบายทางการเมืองหรือนโยบายสาธารณะก็ตาม เรา
ยังเห็นว่ายังไม่ได้พูดถึงสิ่งที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่ออกมาในรูปแบบของการที่
ประชาชนทั้งหลายจะได้แสดงสิทธิ และสิทธินั้นเป็นสิทธิที่ได้แสดงความเห็นแล้วก็สามารถที่จะเป็น
ความเห็นที่รัฐจะต้องมีพันธกรณีทําตาม ซึ่งตรงนี้คิดว่ารูปแบบทางการเมืองในประเทศอื่นๆ ได้สร้างรูปแบบ
การมีส่วนร่วม มีมากกว่าแค่การให้มีคนพูดๆ มีพันธกรณีที่ชัดเจนมากขึ้น อย่างเช่น ดิฉันเพิ่งกลับจาก
สหรัฐอเมริกาพบว่าประชาชนสามารถที่จะเข้าไปนั่งฟังการพิจารณาคดีความต่างๆ ได้ แต่ไม่สามารถพูดได้
ประชาชนสามารถที่จะนําเสนอ มีวาระที่ประชาชนนําเสนอเรื่องของประชาชนต่อกรรมาธิการสภา หรือว่า
คณะกรรมการบริหารของรัฐได้ เรื่องนั้นๆ จะต้องถูกรับฟังรับทราบอย่างชัดเจน การมาพูดมีการพูดเป็นเรื่อง
เป็นราว มีแบบฟอร์มชัดเจนในการพูด แล้วติดตาม เพระฉะนั้นเราจะทําอย่างไรที่จะทําให้เกิดพันธกรณีเมื่อ
ประชาชนได้มาพูดแล้ว ได้มาแสดงความเห็นไว้แล้ว อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ก็จะเป็นรูปธรรม และมีความแน่ใจว่าจะต้องเป็นอย่างที่ต้องการมากขึ้น กับผู้ที่มีภาระที่จะต้องนําไป
ดําเนินการต่อไป ไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ก็ตามความเชื่อมโยงนี้จะสร้างกลไกที่จะเชื่อมโยง
ได้อย่างไรระหว่างประชาชนหรือพลเมืองกับผู้แทนเหล่านั้น คิดว่าจะไปเพิ่มตัวชี้วัดผลตัวนี้ขึ้นมาอีก แทนที่
จะไปดูที่การเลือกตั้ง เราไปดูที่รัฐประหาร การเลือกตั้ง การปกครองส่วนท้องถิ่น สัดส่วนสตรี จํานวนกลุ่มที่
มีความแตกต่าง แล้วจํานวนกลุ่มเหล่านี้ใช้มันเพิ่มเสรีภาพในการรวมกลุ่ม มีพื้นที่ในสาธารณะมากขึ้น แต่ว่า
พันธกรณีของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างๆ เหล่านั้น เราจะสร้างกลไกเหล่านี้ที่ชัดเจนขึ้นมาได้อย่างไร
ฝากไว้ว่าตัวชี้วัดนี้จะเพิ่มขึ้นมาได้ไหม ดิฉันเพิ่งดูใน CNN เมื่อ 2-3 วันก่อนเป็นรายการข่าว มีการ
ไปสร้างตัวชี้วัดง่ายๆ ระหว่างเด็กขาวกับเด็กดํา ว่ามีการกีดกันเชื้อชาติกันไหม มีการไปสัมภาษณ์เด็กๆ ตาม
โรงเรียนในจํานวนสุ่มตัวอย่าง ไปสัมภาษณ์เด็กเลยว่าเวลาเล่นกันในสนามเด็กเล่นเมื่อเด็กผิวดําเล่น เด็กผิว
ขาวไปเล่นด้วยไหม เด็กตอบว่าเขาไม่ไปเล่นด้วยถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่อนุญาต เป็นต้น แล้วถ้าเป็นเด็กผิวขาว
ด้วยกัน ไปเล่นได้เลยไหม เขาตอบว่าเข้าไปเล่นได้ อย่างนี้เป็นต้น จะมีการถามไปเรื่อยๆ แล้วนําข้อคําถาม
มากําหนดว่าแนวในการเลี้ยงดูบุตรของท่าน คือปัญหาของการแบ่งแยกสีผิว ซึ่งจะออกเป็นนโยบายใน
อนาคต แต่นโยบายนี้ไม่ใช่นโยบายสาธารณะเป็นการรณรงค์ แต่เป็นการไปสะท้อนออกมาจากสื่อต่างๆ
เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิ่งที่จําเป็น แล้วมันจะไหลอยู่ใน
สังคม ซึ่งตรงนี้เรามีมากน้อยแค่ไหน สื่อสาธารณะที่เป็นสื่อทีวีสาธารณะมีช่องรายการที่ประชาชนตัวเล็กตัว
น้อยจะได้ไปพูดมากน้อยแค่ไหน โดยไม่ต้องมีกรอบอะไร พูดๆ ไปเรื่อยๆ แล้วเข้าสู่กระบวนการที่มีพันธกรณี
กันระหว่างการยื่นคําร้องกันที่ชัดเจนไม่ยุ่งยาก ทําอย่างไรที่จะสร้างตัวเหล่านั้นขึ้นมา
คุณสันติ ลาตีฟี - ผมเห็นด้วยอย่างมาก โดยฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการที่เข้ามามีส่วนร่วมของ
ประชาชนต่างๆ เหล่านั้น ผูกมัดกลไกต่างๆ ของรัฐต้องนําไปดําเนินการต่อไป เปิดพื้นที่ เปิดช่องทาง ซึ่ง
ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่มีความสําคัญ รวมถึงเรื่องสตรีที่เราไปมองเฉพาะในแง่สัดส่วนเพียงอย่างเดียวในเชิง
ปริมาณ อาจจะไม่ช่วยได้ อาจจะต้องดูในแง่ที่ว่าการเข้าไปต่างๆ เหล่านั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ขอบคุณมากครับ ขอเชิญท่านผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิครับ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2