Page 396 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 396
318
- มีการให้ความรู้หรือจัดทําประมวลแนวปฏิบัติสําหรับภาคธุรกิจของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการไม่
เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในการดําเนินงาน
- มีการฝึกอบรมและจัดทําคู่มือการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่าง
ประเทศ สิทธิของผู้ต้องขัง หรือนักโทษที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้กับ
เจ้าพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เจ้าหน้าที่คุมประพฤติและพินิจ เจ้าหน้าที่ศาล
สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สถานบําบัดยาเสพติด และสถานพยาบาลจิตเวช
ตัวชี้วัดผล คือ
- จํานวนเรื่องร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบริการสาธารณะของรัฐอันเนื่องมาจาก
“สถานภาพของบุคคลที่นําไปสู่การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม”
หัวข้อ 3.3 การได้รับการพิจารณาคดีโดยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรมเมื่อถูกกล่าวหา
ว่ากระทําความผิดทางอาญา
ตัวชี้วัดทางโครงสร้าง คือ
- มีกฎหมายรับรองสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
หัวข้อ 3.4 ความเป็นกลาง และความเป็นอิสระของผู้พิพากษา
ตัวชี้วัดทางโครงสร้าง คือ
- มีรัฐธรรมนูญรับรองความเป็นกลางและความเป็นอิสระของผู้พิพากษา และตุลาการ
หัวข้อ 3.5 การได้รับการชดเชยจากการใช้กระบวนการยุติธรรมที่ไม่ชอบหรือที่ผิดพลาด
ตัวชี้วัดทางโครงสร้าง คือ
- สิทธิของจําเลยคดีอาญาในการอุทธรณ์
เข้าใจว่ามีช่องว่างอยู่ค่อนข้างมากในส่วนนี้จะต้องขอความอนุเคราะห์จากท่านได้ช่วยกันเติมเต็มเข้า
ไปให้สมบูรณ์ต่อไป ในส่วนนี้ท่านผู้แทนจะกรุณา ท่านใดจะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในกลุ่มที่ 3 นี้ เชิญครับ
คุณพยนต์ สินธุนาวา (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) – จริงๆ แล้วใน
กระบวนการยุติธรรมผลกระทบของประชาชนคงไม่ใช่เรื่องในทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มีทางแพ่งด้วย
ฉะนั้นเวลามองก็เป็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด เวลามองไปทางอาญามากๆ ก็จะลืม
ในทางแพ่ง ซึ่งในทางแพ่งประชาชนก็เดือดร้อนเหมือนกัน มองว่าบางตัวอาจจะใช้คําพูดกลางๆ ได้ ส่วนใน
กระบวนการข้างในก็จะแบ่งเป็นทางแพ่งและทางอาญา ตัวชี้วัดทางกระบวนการ ก็มีตัวชี้วัดทางอาญา ทางแพ่ง
ขอเสนอความคิดเห็น กระบวนการทางสิทธิเท่าเทียมกันในทางกฎหมายเริ่มตั้งแต่เกิดถึงตาย
หลักการแรกคือ การได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันตั้งแต่เกิดจนถึงตายเป็นจุดเริ่มต้น
หลังจากนั้นก็คือ โอกาสในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โอกาสในการเข้าถึงนั้นต้องพอมี ไม่ว่าคนจนหรือ
คนรวย ต่อมา คือ การได้รับการปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน ในตัวชี้วัดของอาจารย์
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2