Page 392 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 392

314


                   ใครจะมีหน้าที่ทําอะไรเราค่อยมาดูกัน ผมมองว่าไปได้ ส่วนที่ท่านอาจารย์ทําไว้เป็นตัวปิดท้าย ตรวจสอบ
                   พอเราสร้างเสร็จว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเสาเข็ม ใครรับผิดชอบเรื่องคาน ใครรับผิดชอบเรื่องถนน เขาทํา

                   เขาไป แล้วเราตรวจสอบอีกทีว่าเป็นไปตามแบบไหม แล้วถ้าไม่เป็นเพราะอะไร เงื่อนไขติดอะไร ต้องแก้ไข
                   กฎหมายไหม ต้องแก้ระบบ ต้องปรับอะไรไหม ค่อยๆ ทํา ผมมองว่าพิมพ์เขียวนี้เราไปได้ครับ มิฉะนั้นผม
                   คุ้นมากกับการที่เราเป็นสมาชิกหลายแห่งมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิอะไรก็ตาม สุดท้ายพอปลายปี
                   เราก็รีบรายงานผล เรียกทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาลอกรายงานแปะรวมกัน ตอนนี้เราทําใหม่แล้ว ผมมอง

                   ว่าเราน่าจะไปได้ ขอบคุณครับอาจารย์

                         พ.ต.อ.สมศักดิ์ วิมานรัตน์ (รองผู้บังคับการนครบาล กองบัญชาการต ารวจนครบาล) -  อยากจะ

                   ถาม ที่มีตัวชี้วัดกระบวนการ ส่วนมากจะอาศัยกลไกอิสระ จากหน่วยงานอิสระ ทําไมเราไม่ใช้จากหน่วยงาน
                   ที่เกี่ยวข้อง  กรณีของตํารวจไม่น่าจะมีปัญหา ทําไมไม่ขอข้อมูลจากหน่วยงานนั้นๆ ที่คาดว่าจะมีข้อมูลจาก
                   เรื่องนี้ หรืออย่างกรณีข้อ 2.2 เกี่ยวกับการเยี่ยมของตํารวจเขาก็มีระเบียบอยู่แล้ว ทนาย เจ็บปุวยได้รับการ
                   รักษาได้ตลอดเวลา ปรึกษาทนายเขามีอยู่แล้ว


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ –  จริงๆ แล้วพอทําเสร็จแล้ว เราเพียงแต่กําหนดไว้ว่าจํานวนตัวเลขข้อมูลตัวชี้วัดผล
                   ส่วนจะได้มาจากไหนต้องระบุมาจากแหล่งหลักฐานเหล่านั้น คิดว่าเจ้าของข้อมูลเป็นคนให้ข้อมูลดีที่สุด เช่น
                   จํานวนคดี ตํารวจต้องรู้มากกว่าคนอื่น จํานวนคดีที่เกี่ยวกับชีวิต หรือจํานวนคดีผู้หญิงที่ถูกข่มขืนมาฟูอง

                   และจํานวนคดีที่ตัดสินโดยศาล ต้องไปที่ศาล แล้วมาดูกันว่าสัดส่วนของที่แจ้งความกับตํารวจกับจํานวนคดีที่
                   ฟูองมันมีสัดส่วนกันเท่าไหร่ ถ้าหากว่าฟูองว่าถูกข่มขืน 100  คดี แต่นํามาขึ้นศาล ไปฟูองศาลแค่ 10  คดี
                   แสดงว่าอีก 90 คดีหายไปเท่ากับว่ามีผู้เสียหายที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย สรุป หลักการคือเรา
                   ต้องขอข้อมูลจากเจ้าของ ถ้าหากว่าข้อมูลจากเจ้าของขอไม่ได้ ต้องขอจากองค์กรที่เป็นของรัฐก่อน เพราะว่า

                   เราหน่วยงานของรัฐ ถ้าไม่ได้ของรัฐต้องมีการตรวจสอบข้อมูลกันด้วย ไม่ใช่ข้อมูลของรัฐอย่างเดียว ต้องมี
                   ข้อมูลเชิงคุณภาพ อย่างเช่น รายงานของสื่อมวลชน เช่น กรณีอุ้มหาย ต้องดูจากรายงานของสื่อมวลชนด้วย
                   ซึ่งตรงนั้นผมเข้าใจว่าไม่น่าจะยาก สรุปหลักการประการแรกต้องได้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจากเจ้าของข้อมูล
                   จริงๆ ประการที่สอง พอมีการทําตรงนี้แล้วจะต้องมีการกําหนดระบบการรายงานการจัดเก็บข้อมูล ซึ่ง กสม.

                   ควรจะต้องมีตรงนั้นอีกที โดยอํานาจหน้าที่ของ กสม. สามารถที่จะเรียกข้อมูลได้อยู่แล้วจากเจ้าของข้อมูล
                   โดยตรง

                         คุณอ าไพ ศรีเริงหล้า (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน) -  ในส่วนของข้อ 8

                   ในเรื่องของการเป็นภาคีสนธิสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน
                   อยากเสนอตัวชี้วัดในเรื่องผล พอจะมีข้อมูลในการจัดเก็บหรือข้อมูลอัตราประสบอันตรายจากการทํางาน
                   ของลูกจ้างสามารถนํามาใช้ได้ และเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่ปฏิบัติก็มีอยู่แล้ว


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ขอเสริมในเรื่องของกระบวนการที่เราเป็นภาคีอนุสัญญาต่างๆ การเป็นภาคีน่าจะ
                   เป็นตัวชี้วัดเรื่องของโครงสร้าง มีคําแนะนํา มีการสังเกตการณ์ ซึ่งตรงนั้นมันไม่มีผล มีแต่การกําหนด ตรงนี้
                   เป็นพันธะระดับที่ 2 ซึ่งบางทีรัฐก็ไม่รับของเราเสนอ UPR  ตั้ง 100  กว่าข้อ ผมเข้าใจว่าต้องมีกระบวนการ
                   ตรวจสอบ ต้องมีการตรวจสอบ ไม่แน่ใจว่าเราได้ทําเป็นสิทธิอย่างเป็นทางการ (formal rights)  ไว้แค่ไหน

                   องค์กร NGO  ตรวจสอบอยู่ ตรงนี้เราจะเอาข้อมูลจากไหน NGO  จะมีลักษณะแยกกันทํา เป็นประเด็นๆ

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397