Page 394 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 394
316
คุณอารีรัตน์ โล่ห์ทองมงคล (ส านักงานสถิติแห่งชาติ) - ตามแผนแม่บท 21 สาขา จะมีสาขา
แรงงาน สาขาการศึกษา ซึ่งตอนนี้พยายามจะปรับให้เป็นสาขาตามนั้น คิดว่าต่อไป user สามารถนําไปใช้ได้
ดีขึ้น
คุณสันติ ลาตีฟี - ยังมีหัวข้อที่ 2.5, 2.6, 2.7, 2.8 ที่ยังไม่มีตัวชี้วัดกระบวนการเลย ท่านผู้เข้าร่วม
workshop วันนี้ จะกรุณาช่วยเติมท่านละข้อสองข้อได้ไหมครับ
ในส่วนของหัวข้อที่ 2.5 หน้า 5 การปลอดจากการถูกจับกุมคุมขังโดยพลการ ตรงนี้ยังไม่มีตัวชี้วัดเชิง
กระบวนการเลย และก็ยังไม่มีตัวชี้วัดผลด้วย
หัวข้อ 2.6 การปลอดจากการถูกลงโทษ หรือถูกปฏิบัติอย่างทารุณโหดร้าย หรือเป็นการเหยียบย่ํา
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
หัวข้อ 2.7 การปลอดจากอาชญากรรมรุนแรงที่คุกคามความมั่นคงปลอดภัยในสวัสดิภาพของบุคคล
หัวข้อ 2.8 การมีอิสรภาพในการเดินทาง เลือกถิ่นที่อยู่อาศัยและไม่ถูกขับออกนอกประเทศโดย
พลการ ท่านผู้แทนจะกรุณาช่วยเติมสักท่านละข้อสองข้อตรงนี้ได้ไหมครับ
คุณน้ าริน อนุกูล (กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ) – มีข้อสังเกตว่า
ตัวชี้วัดในข้ออื่นๆ ยังมีช่องที่ว่างจําเป็นจะต้องเติมอีก คิดว่าถ้าเรามีข้อจํากัดทางด้านเวลา อาจจะเสนอว่า
แต่ละกระทรวง หน่วยงาน กลับนําไปแล้วค่อยมาสะท้อนส่งให้ กสม. ทีหลังได้หรือไม่ ในวันนี้ถ้าเราจะต้อง
คิดให้ครบจากหนึ่งข้อจากในทุกๆ กลุ่มจากตัวชี้วัด 3 ประเภท อาจจะไม่ทันหรือเปล่า มีข้อคิดเห็นด้าน
เทคนิค สืบต่อจากข้อคิดเห็นของผู้แทนจากกรมคุ้มครองสิทธิ ข้อความอาจต้องปรับเปลี่ยนข้อความจาก
ตัวชี้วัดผล เหมือนมีข้อไม่แน่ใจว่าพูดถึงตัวชี้วัดผลเลยหรือตัวชี้วัดผลที่เป็นเปูาหมาย ถ้าเมื่อเทียบกับตัวชี้วัด
โครงสร้างหรือตัวชี้วัดกระบวนการส่วนใหญ่จะพูดถึงสิ่งที่ทําไปแล้ว เช่น มีการกําหนด มีกลไกที่เป็นอิสระ
เพราะฉะนั้นเพื่อสร้างความชัดเจนมากขึ้น และสะท้อนว่าตัวชี้วัดผลมันสะท้อนการปฏิบัติตามสาระแห่งสิทธิ
ที่เราได้ยกมา อาจจะเป็นไปได้หรือเปล่าว่าเราจะลงไปโดยเฉพาะว่าจํานวนผู้เสียชีวิตในการปฏิบัติงานของ
การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานลดลงเป็นจํานวน เป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือมีการได้พัฒนา
หรือได้สะท้อนว่าเราได้พัฒนาการทํางานด้านสิทธิต่างๆ ไปแล้ว
คุณสันติ ลาตีฟี - ผมว่าจะมีอีกวิธีหนึ่ง อาจจะทําคล้ายๆ กับที่กระทรวงการต่างประเทศทํา ตอนที่
เรามีการประชุมเรื่อง UPR กัน คือ ข้อเสนอแนะที่เราได้มาจาก UPR ประเทศไทยรับมา 100 กว่าข้อ ทาง
กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะฝุายเลขานุการได้ทําเป็นตาราง และได้เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต่างๆ อาจจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ได้เติมข้อคิดเห็นของตนเองลงไปในตารางที่ทางกระทรวงการ
ต่างประเทศได้ยกร่างขึ้น ผมเข้าใจว่าถ้าหากการประชุมในวันนี้เมื่อเรามีเวลาอันจํากัด หลังจากนี้อาจส่งเป็น
soft file เข้าไปที่ e-mail ของท่านผู้แทนแล้วให้ท่านช่วยกรอกมาเป็นฉบับร่างแล้วส่งกลับมาที่คณะผู้ศึกษา
ขอความกรุณาอาจจะภายใน 2 สัปดาห์ – 1 เดือน แล้วแต่กรอบเวลาที่อาจารย์จะกรุณากําหนด ให้ท่าน
ช่วยส่งกลับมาที่ทาง email ของคณะผู้ศึกษา ตรงนี้จะช่วยให้คณะผู้ศึกษาทํางานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ถ้า
อย่างนั้นช่วงท้ายเราจะขอ e-mail address ของท่านต่างๆ ที่มาในวันนี้
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2