Page 390 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 390

312


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - อันนั้นผมเข้าใจว่าเป็นเปูาหมายมากกว่า การปลอด คือ เปูาหมาย แต่ว่าตัวชี้วัด
                   มันต้องมี สิทธิมนุษยชนเราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่ามันจะมีปัญหาแล้วต้องพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ คือ เปูาหมาย

                   ของเราอาจถือว่าเป็นศูนย์ แต่ว่าเราดูเพื่อจะมาวิเคราะห์ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในกระบวนการ กลไก เพราะถ้า
                   หากว่าปลอดไม่มี ตัวนั้นน่าจะเป็นตัวเปูาหมายที่ทําให้ถึง แต่ว่าถ้าเราต้องการตัวเลขว่ามันมากขึ้นเท่าไหร่
                   เพื่อจะมาแสดงให้เห็นว่ามันมีกลไก กระบวนการอะไรบ้าง ผมว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น


                         คุณเอมอร เสียงใหญ่ (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)  -  อย่างนั้นตัวชี้วัดของอาจารย์ ผลของ
                   อาจารย์ ค่าเปูาหมายผลของอาจารย์เป็นเท่าไหร่คะ คือในตัวชี้วัดจะต้องมีค่าเปูาหมายของตัวชี้วัดใช่ไหม ค่า
                   เปูาหมายของตัวชี้วัดจํานวนบุคคลที่ถูกทําให้หายตัวไปโดยการใช้กําลังบังคับ ค่าเปูาหมายของตัวชี้วัดของ

                   อาจารย์ต้องเท่าไหร่คะ ถึงจะสําเร็จตามตัวชี้วัดผล แปลว่ายังต้องมีคนถูกขังอยู่ใช่ไหมคะ คนถูกพรากไปโดย
                   พลการ

                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ตรงนี้ขึ้นอยู่กับการอธิบายของหน่วยงานว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร เราใช้เป็นตัวข้อมูล


                         พ.ต.ท.สุริยะ แถมจอหอ (กองบัญชาการต ารวจสอบสวนกลาง) -  ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ อย่างนี้
                   ถ้าหากว่ามีเหตุเกิดขึ้นถ้าผมชี้แสดงตรงนี้ลงไปก็เท่ากับผมกระทําความผิดเอง ผมทําให้เขาหายไป คือถ้ามี
                   จํานวนเกิดขึ้นแสดงว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเป็นฝุายที่กระทําความผิดเองถูกไหมครับ


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ไม่ได้พิจารณาดูว่าใครเป็นคนทํา แต่เราดูว่าเกิดขึ้นหรือไม่ เราดูจํานวนครับ

                         ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย

                   บทบาทหญิงชายและการพัฒนา)  - ตามความเข้าใจ ตัวชี้วัดผลจากกระบวนการ สมมติเราดูที่ CAT ก็ได้
                   ว่า ข้อ 2  หน้า 1  โครงสร้างก็คือ สมมติว่าสาระแห่งสิทธิก็คือสังคมไทยจะปลอดจากการพรากชีวิตโดย
                   พลการ ตัวชี้วัดโครงสร้าง คือ สังคมไทยมีการเข้าร่วมเป็นภาคี CAT ตัวชี้วัดกระบวนการ คือ สังคมไทยสร้าง
                   กลไกอิสระเข้ามาตรวจสอบในการเสียชีวิต กลไกนั้นไม่ใช่ผู้สื่อข่าวไปหามา เป็นกลไกอิสระที่จะเข้าไป

                   ตรวจสอบว่ามีการเสียชีวิตโดยพลการไหม เพราะว่าจะเป็น monitor  กลไกนี้มีอํานาจเรียกสอบ ขอข้อมูล
                   จากหน่วยงานที่สงสัย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนหรือขอตรวจค้นในกรณีที่เกิดความสงสัย คือมีกลไก
                   ตัวชี้วัดผลก็คือว่า น่าจะสามารถออกข้อมูลได้ เปิดเผยข้อมูลจํานวนผู้ที่ถูกพรากออกไปได้ตรงนั้นมากกว่า
                   ไม่ใช่สร้างข้อมูล หมายถึงว่าเป็นข้อมูลเหล่านั้นสามารถที่จะถูกรายงานออกมาได้ว่าเป็นจํานวนเท่าไหร่

                   ลดลงหรือมากขึ้น คือระบบ monitor นั่นเอง ระบบ monitoring จะต้องเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นคงเป็นคําพูด
                   ที่จะต้องเขียนออกมาว่า ผลของกระบวนการที่มีเป็นกลไกอิสระ หน้าที่หนึ่งของกลไกอิสระ คือ ออกข้อมูล
                   เป็นระยะๆ ให้ข้อมูลสาธารณะเป็นระยะๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอ้างอิงได้ เปิดเผย ปลอดจากจากการถูกอิทธิพล

                   ใดๆ ว่าทําไมให้ข้อมูลแบบนี้ เอาข้อมูลมาจากไหน เอามาจากกลไกอิสระซึ่งจะเป็น กสม. หรืออะไรก็แล้วแต่
                   อย่างนี้ถูกต้องไหมคะ

                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ที่ผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวนั้นคือ ตัวกระบวนการที่มีการตรวจสอบเข้าใจตรงกันนะ
                   ครับ ขอกลับไปตรงเรื่องของตัวชี้วัดที่กําหนดไว้ว่าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศ เป็นการชี้ให้เห็นว่าเรา

                   มีความมุ่งมั่น มันเป็นการบรรลุไม่อย่างนั้นเราละเมิดหมดเลย เราไม่เป็นภาคีอะไรสักอย่างหนึ่ง สมมติแล้ว

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   385   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395