Page 385 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 385

307


                         ตัวชี้วัดผล คือ
                         -  มีการเลือกตั้งในระดับการปกครองท้องถิ่นตามวาระ

                         -  จํานวนคดีที่ถูกตัดสินว่ามีการเลือกตั้งที่ไม่ชอบกฎหมาย
                         -  จํานวนพรรคการเมืองที่ดําเนินการตามหลักการประชาธิปไตย หลักบริหารจัดการที่ดี และ
                            หลักการเป็นตัวแทนของประชาชนโดยแท้จริง
                         -  สัดส่วนของสตรีในตําแหน่งฝุายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

                         -  (สัดส่วนสตรีต่อจํานวนสมาชิกสภานิติบัญญัติ/ตําแหน่งในคณะรัฐมนตรี/จํานวนผู้พิพากษาศาล
                            ฎีกา ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ/องค์กรอิสระ/ผู้ว่าราชการจังหวัด/อธิบดีกรม หรือเทียบเท่า)
                         -  จํานวนสมาชิกของกลุ่มที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น

                            ตัวแทนเข้าร่วมในการกําหนดแผน หรือนโยบายสาธารณะที่มีผลต่อการดํารงรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่ม
                           อันนี้จะเป็นในส่วนของกลุ่มตัวชี้วัดที่ 1 ถ้าไม่มีผมจะผ่านไปกลุ่มตัวชี้วัดที่ 2

                           คุณพยนต์ สินธุนาวา  (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) -  ในส่วนตัวชี้วัด
                   กระบวนการที่ได้กล่าวในตอนต้นนั้นว่าส่วนใหญ่น้ําหนักเราจะอยู่ที่การเลือกตั้งก็ดีอยู่แล้ว แต่อยากให้วิ่ง

                   ก่อนหน้าไปนิดหนึ่งก็คือเรื่องของการเสริมสร้างให้ประชาชนได้มีความรู้และตระหนักถึงสิทธิและการปกปูอง
                   สิทธิ ผมมองว่าตัวนี้น่าจะเป็นตัวชี้วัดกระบวนการอีกตัวหนึ่ง ส่วนที่ว่าใครมีหน้าที่ตรงไหนค่อยว่ากัน ถ้าเป็น
                   อย่างนั้นจะเหมือนอย่างที่ท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าเราทําอย่างนี้เราจะกลายเป็นเก็บเกี่ยวผลที่เกิดจากหลายๆ

                   อย่าง แต่ถ้าเราสร้างตัวชี้วัดเสริมสร้างให้ประชาชน เราจะวิ่งเข้าไปปูองกันปัญหาด้วย เราจะทําคู่กันไปด้วย
                   ในการปูองกันปัญหา ผมมองว่า ณ เวลานี้แม้กระทั่งเรื่องการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในทาง
                   การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตั้งแต่ในชั้นนักเรียน ก็ต้องทําต้องเริ่ม ไม่ใช่การเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมต้องเริ่ม
                   ตั้งแต่เกิด ให้เด็กได้เริ่มรับรู้สิทธิ เสริมเป็นตัวชี้วัดกระบวนการอีกตัวขึ้นมา แล้วค่อยมาเติมแต่งว่าควรจะอยู่

                   จุดไหนครับอาจารย์

                           ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
                   บทบาทหญิงชายและการพัฒนา)- ขอเพิ่มเติมเล็กน้อย ถ้าจะดําเนินการอย่างนี้ก็มีข้อคิดเห็นดังนี้ คือว่าสิ่ง

                   ที่ให้แบบร่างมายังอยู่ในระดับต้น ในส่วนที่วางระดับต้นไว้แล้ว สมมติไปดูตัวชี้วัดที่เป็นผลอย่างเช่น ถ้าไปดูที่
                   หน้า 2  ในเรื่องการมีส่วนร่วมยังอยู่ในเรื่องของข้อ 1  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัดส่วนสตรีในตําแหน่งฝุายบริหาร
                   ตุลาการ และนิติบัญญัติ สามเสาหลักของประเทศ สมมติว่าดูจากตรงนี้ เป็นตัวชี้วัดที่ใช้กันมา 20-30 ปีแล้ว
                   มันมีข้อโต้แย้งมาเป็นระยะๆ ตลอด เราในที่นี้คือสตรีทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย พบข้อโต้แย้งบาง

                   ประการ บางครั้งจํานวนของสุภาพสตรีที่อยู่ในตําแหน่งต่างๆ เหล่านั้น ไม่ได้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่ทําให้
                   สถานภาพของสตรีโดยรวมก้าวหน้าขึ้น เพราะว่าจํานวนเหล่านั้นไม่ได้เป็นจํานวนที่มีคุณภาพ ซึ่งมีงานวิจัย
                   หลายชิ้นได้บ่งบอกให้เห็นถึงคุณภาพตามประเทศต่างๆ เมื่อสตรีเข้าสู่การเมือง คุณภาพของสตรีที่เข้าสู่

                   การเมืองในประเทศต่างๆ ก็จะบ่งบอกว่าไปทําให้เกิดคุณภาพทางการเมืองหรือไม่ ล่าสุดมีการพูดถึงระบบที่
                   เรียกว่าอุปถัมภ์ หรือระบบตัวแทน ระบบของเครือญาติก็ดี ที่ผลักดันให้สตรีจํานวนมากเข้าสู่การเมือง
                   คุณสมบัติของสตรีจํานวนมากพอสมควรที่เข้าสู่การเมือง ล้วนมีแง่มุมที่มีการเกี่ยวพันธ์กับระบบเหล่านั้น
                   ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบอุปถัมภ์ เครือญาติ หรือเชื่อมโยงในฐานะตัวแทน เพราะฉะนั้นสัดส่วนเป็นสิ่งที่มี
                   เครื่องหมายคําถามขยายโตขึ้นๆ มากขึ้นว่าไปสะท้อนให้เกิดคุณภาพหรือไม่ แล้วตัวชี้วัดตัวนี้ก็ต้องตั้งคําถาม

                   เราเร่งให้มีสตรีบางครั้งบางประเทศถึงกับกําหนดโควต้าด้วยซ้ําไป 30% 40% 50% กําหนดได้ แต่ว่าถ้าไม่มี

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389   390