Page 382 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 382
304
ความกลัวในการดํารงชีวิต จะนําอะไรมาวัด ความกลัวในเรื่องของผู้หญิง ความกลัวที่จะดํารงชีวิตอย่างปกติ
สามัญในพื้นที่ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือถนนหนทางที่เป็นเมือง ตัวชี้วัดเหล่านี้ยังไม่ถูกสร้างขึ้นมา
สําหรับผู้หญิงคนหนึ่งถ้าจะเดินทางไปไหนมาไหนจะต้องระมัดระวังมากมายกว่าพลเมืองอื่นๆ อย่างไรบ้าง
รวมทั้งเด็กหญิงด้วย เป็นต้น ซึ่งไม่ได้พูดถึงเลย เวลาพูดถึงตัวชี้วัดก็จะไปดูเรื่องของสิ่งที่มองเห็นได้นับได้
ตัวเลข จํานวน กรณีที่เป็นคดีความต่างๆ เรื่องของการทําร้ายทุบตีที่เห็นชัดเจนว่าเนื้อตัวร่างกายมีบาดแผล
แต่ว่าจิตใจ อารมณ์ ความหวาดผวา ความตกใจ ยังไม่ได้สร้างตัวชี้วัดเหล่านี้ขึ้นมา คิดว่าเอกสารทั้งหมดนี้ที่
กล่าวถึงตัวชี้วัดอยากจะเพิ่มมีอีกระดับหนึ่งที่ลึกลงไปกว่าสิ่งที่มองไม่เห็น มองเห็นไม่ได้ หมายถึง สิ่งที่
มองเห็นไม่ได้ พวกนี้ทําแค่งานเอกสารก็พอจะเห็นแนวทางแล้ว สร้างรายงานได้ แต่รายงานเหล่านั้นจะ
นําไปสู่ผลอะไรหรือเปล่านั้นไม่แน่ใจ อาจจะเป็นการเขียนตัวหนังสือลงไปในกระดาษแล้วก็ยื่นกันไปยื่นกัน
มา ประเด็นจะจบลงแค่นี้ ในเรื่องของ CEDAW ที่รัฐบาลไทยได้ไปลงนามไว้ ถ้า กสม. หรือคณะกรรมการที่
ศึกษาก็ดีจะได้ตรวจสอบ เพื่อชี้ให้ดูว่าในด้านของสตรี และเด็กหญิง คําว่าเด็กเน้นที่เด็กหญิงถูกเลือกปฏิบัติ
อยู่มากมายจะทําอย่างไร ซึ่งได้ลงนามใน CEDAW ไว้แล้ว ซึ่งถ้ารัฐบาลไทยได้ทําตามนั้นจะช่วยคุ้มครองการ
ถูกเลือกปฏิบัติไปได้เยอะ ถ้าจะถามว่ามันคืออะไรบ้างในการเลือกปฏิบัติจะอยู่ในเอกสาร CEDAW 8
ประการ ที่ชัดเจน ซึ่ง กสม. ได้ทําเป็นเล่มเล็กๆ ออกมาให้เห็นแล้ว มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และมี
การพูดคุยกันเยอะมากเรื่องพวกนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 คุยกันมาเป็นระยะๆ ทําหลายเรื่องมีรายงานทุกๆ 4
ปี ที่ CSW ได้ไปรายงานตั้งแต่เป็นสํานักนายกฯ จนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นกระทรวงพัฒนาสังคม สํานัก
กิจการสตรีก็ได้ดูแลเรื่องนี้ ได้รวบรวมเอกสารทั้งหมดไปรายงานแต่ก็เป็นแค่รายงาน
ดังนั้นโดยสรุป คิดว่า ข้อเสนอแนะกับตัวชี้วัดที่ทํามาทั้งหมดไม่ว่าจะศึกษามาจากสาธารณรัฐ
ฟิลิปปินส์ ดูมาจากอังกฤษ ตัวชี้วัดตามสนธิสัญญาต่างๆ ที่ไทยได้ไปลงนาม 8 ฉบับมาที่ผูกพัน ข้อสังเกต คือ
ว่า เป็นตัวชี้วัดที่มองเห็นได้ แต่ไม่ได้ตอบคําถามทั้งหมดของการละเมิดสิทธิที่มองเห็นไม่ได้ การที่ได้กรอก
ตัวชี้วัดได้เท่านี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้า กสม. หรือบุคคลที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนไปให้ความสนใจแค่เรื่อง
ของการเห็นว่ามีปริมาณของคดีความ คนถูกทําร้ายร่างกาย คนถูกฆ่า คนถูกอุ้มไปเป็นจํานวนเท่าไหร่ต่อปี
เท่านั้นเป็นการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ถ้าสนใจว่าการได้รายงานสิ่งที่รุนแรงมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นรายงานที่
ดีมากเท่านั้น ผลในทางกลับกันคือว่า มันคือหายนะของมนุษยชนที่อยู่ในรายงานนั้น จํานวนศพ จํานวนคน
ตาย จํานวนผู้หญิงถูกข่มขืนทําร้ายทุบตีเหล่านั้น มันเป็นตัวเลขที่สูงที่น่าสนใจที่น่าตื่นเต้น แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่
เกิดขึ้นแล้ว กสม. หรือบุคคลที่สนใจสิทธิมนุษยชนต้องสนใจก่อนที่จะเกิดด้วย ทําอย่างไรที่จะให้ลดลงหรือ
ไม่ให้เกิด จะมีตัวชี้วัดอะไรที่ทําให้ทุกคนในสังคมอยู่แล้วไม่ต้องหวาดผวา ไม่ต้องกลัวว่าวันไหนจะถูก
กระชากกระเป๋า เป็นต้น เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดก่อนที่จะไม่ให้เกิดจะมีหรือไม่ สังคมที่ปลอดการทําร้ายกันจะมี
หรือไม่ ตัวชี้วัดเหล่านั้นเราควรจะสร้างขึ้นมาไหม หรือเราควรจะสนใจแค่สิ่งที่มันเกิดไปแล้ว นี่คือเป็นการตั้ง
ข้อสังเกต เราจะทํางานก่อนหรือหลัง หรือตรงกลางด้วย ถ้าเราใช้กรอบนี้กรอบเดียวที่เสนอมาทั้งหมด เรา
กําลังทํางานทีหลังเท่านั้นเอง คือตามหลังผลของการที่เกิดการละเมิดสิทธิกันขึ้นมาแล้ว ขอบคุณค่ะ
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ขออนุญาตชี้แจง ตัวชี้วัดผล เป็นตัวชี้วัดผลแง่มุมเดียว แต่จะมีตัวชี้วัด
กระบวนการยังมีอีกเยอะที่ยังไม่ได้ใส่ เนื่องจากว่าทางคณะผู้ศึกษาได้ศึกษาและไม่ได้มีความเห็นขัดแย้งกัน
ซึ่งต้องเกิดมีแผน มีนโยบาย ตรงนี้คือกระบวนการขับเคลื่อน ทําไมเราถึงต้องมารับฟังความคิดเห็น ขอบคุณ
ครับ
คุณสันติ ลาตีฟี – ขอบคุณท่าน ผศ. วิชัย ขออนุญาตผมคิดว่าข้อสังเกตที่กล่าวมาเมื่อสักครู่เป็นเรื่อง
ที่มีความสําคัญ นั่นก็คือในส่วนของตัวชี้วัดที่ไม่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ แต่กระทบกับสวัสดิภาพของคน
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2