Page 381 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 381
303
โดยจะเริ่มจาก 1.1 ก่อน เข้าใจว่าในส่วนของช่อง (B) ตัวชี้วัดโครงสร้าง ส่วนใหญ่จะคล้ายๆ กัน ผู้ที่
เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานทั้งในส่วนของรัฐและภาคประชาสังคม ต่างก็มี
ความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องตัวชี้วัดกระบวนการว่ารัฐควรที่จะมีมาตรการอะไร
ที่จะทําให้สิทธิตัวนั้นๆ บรรลุผลสําเร็จ นั่นก็คือ ตัวชี้วัดกระบวนการ
หัวข้อ 1.1 การส่วนร่วมในการกําหนดระบอบทางการเมือง และเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ตัวชี้วัดทางโครงสร้าง คือ
- มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญกําหนดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมเป็นระยะ
- มีรัฐธรรมนูญกําหนดให้การทําข้อตกลงระหว่างประเทศ (กับรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศ) ที่
อาจมีผลกระทบอย่างสําคัญต่อการใช้อธิปไตยของประเทศต้องมีการรับฟังสาธารณะและต้อง
ออกเป็นพระราชบัญญัติ
ตัวชี้วัดทางกระบวนการ คือ
- มีองค์กรการจัดการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ
- อิสรภาพขององค์กรเอกชนในการสอดส่องติดตามการเลือกตั้ง
- วัตถุประสงค์ของการศึกษาที่มุ่งสู่การเคารพสิทธิเสรีภาพ สันติภาพ การมีองค์กรจัดการการ
เลือกตั้ง
ผู้เข้าร่วมสัมมนาคิดว่าเพียงพอหรือไม่อาจจะเพิ่มตัวชี้วัดกระบวนการตัวอื่นเข้าไปหรือไม่อย่างไร ได้
โปรดช่วยแสดงความคิดเห็นด้วย ช่วยกดไมค์และกรุณาช่วยบอกชื่อและหน่วยงานที่สังกัด เพื่อทางคณะ
ผู้ศึกษาจะได้จดบันทึกเอาไว้ ขอบคุณครับ ขอเชิญครับ
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - สิ่งที่ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่เชิญไปกับเอกสารที่ได้อ่าน
ในวันนี้ คือมีความเห็นสับสนเล็กน้อยในหนังสือที่เชิญไปเพื่อต้องการให้มาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทํา
วิจัยและเพื่อที่จะเป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ พอมาถึงมาดูตัวชี้วัดคิดว่ามันเป็นเรื่องที่คงจะยากในเวลา
สองชั่วโมงกับคนประมาณ 30 คน คณะผู้ศึกษาที่ทํางานด้านเอกสารมาจํานวนหนึ่งแล้ว
ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะในเชิงเท่าที่ได้เตรียมมา คือ ในด้านของสิทธิของผู้หญิง ซึ่งได้ตรวจสอบดูแล้ว
ว่าในกรอบที่คณะผู้ศึกษาได้ตระเตรียมที่จะศึกษาได้วางแนวของพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐบาลไทย
ลงนามไว้ ซึ่ง CEDAW ประเด็นคือรัฐบาลไทยจะต้องมีพันธกรณีตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ที่ได้ไปลงนามไว้ แต่
รัฐบาลไทยไม่ได้ดําเนินการในการสร้างกฎหมายภายในขึ้นมา เพื่อที่จะให้มีการบังคับใช้ในเรื่องของการขจัด
การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกๆ รูปแบบ ซึ่ง CEDAW มี 8 กรณี ในนั้นมีเรื่องสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่คล้ายๆ
กันแต่จะละเอียดลงไปและให้ความสําคัญในเรื่องของสตรีมาก สามารถที่จะนํามาเป็นแบบแผนหรือแนวทาง
ในการตรวจสอบดูว่าประเทศไทยยังมีระบบ ระเบียบ หรือยังมีพฤติการณ์ พฤติกรรมอย่างไรที่เป็นการเลือก
ปฏิบัติต่อสตรีทั้งที่ปรากฏในรูปแบบของกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรและที่เป็นพฤติกรรมหรือเป็น
วัฒนธรรม อย่างไรก็ตามเรื่องของสตรีไม่ใช่สตรีไทยกลุ่มเดียวที่มีปัญหา เป็นปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศ
ทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะปัญหาในไทย ประเด็นคือว่าไม่มีการขยับมากนักและไม่มีรูปธรรมของการเปลี่ยนแปลงที่
ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง หรืออะไรก็แล้วแต่ ดังนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่ก็แค่ทําให้การไปลงนามกับอนุสัญญา
ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติให้เป็นจริงก็ยังทําไม่ได้ตรงนี้เป็นตัวหนึ่ง จะไม่ลงรายละเอียดเรื่องตัวชี้วัด
เพราะคิดว่าสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเรียกว่า ระดับเดี่ยวของสิทธิมนุษยชน ซึ่งคิดว่าทั่วโลกได้ไปไกลถึงขั้นที่เรา
ไม่ได้มองผลลัพท์ที่เห็นได้ แต่ได้สร้างตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่มองไม่เห็น แต่เป็นการละเมิดสิทธิ อย่างเช่น
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2