Page 383 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 383
305
กลุ่มต่างๆ เหล่านั้นที่ท่านกรุณายกตัวอย่างมา ซึ่งคิดว่าในประเด็นนี้ทางคณะผู้ศึกษาเองจะรับกลับไป เพื่อ
ไปปรับและคํานึงถึงจุดนี้ด้วย อย่างไรก็ตามขออนุญาตย้ําในส่วนของวันนี้ที่เราที่มานั่งคุยกันเราจะเจาะ
เฉพาะ 2 กติกา ส่วนอนุสัญญาอื่นๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี จะมีอีกเวทีหนึ่ง ซึ่งตรงนั้นทาง กสม. ได้มีการ
ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเป็นคณะอนุกรรมการที่จัดทําตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะครอบคลุม
พันธกรณีไม่ว่าจะเป็นกติกา อนุสัญญาต่างๆ ที่ไทยเป็นภาคีทั้งหมดตรงนั้นก็จะมีเวที ส่วนตรงนี้เราจะขอ
อนุญาตจํากัดวงเฉพาะ 2 กติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี เข้าใจว่าท่านทั้งหลายที่ได้กรุณามาวันนี้
อาจจะยังไม่เห็นตัวเอกสารตั้งแต่ต้น ทางคณะผู้ศึกษาไม่ได้ส่งไป ฉะนั้นจึงขอปรับวิธีการเป็นว่าผมจะดําเนิน
รายการในลักษณะที่ว่าเป็นรายกลุ่มตัวชี้วัดไป เช่น กลุ่มตัวชี้วัดที่ 1 สิทธิในการกําหนดตนเอง และการมี
ส่วนร่วมในการบริหารกิจการสาธารณะ ถ้าประเด็นนี้ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ท่านกล่าวมาได้เลย ทาง
คณะผู้ศึกษาจะนําไปสกัดว่าทัศนะที่ท่านได้ให้มาควรจะนําไปจัดวางในส่วนไหนจะเป็นรูปของกระบวนการ
รูปของโครงสร้าง รูปของตัวชี้วัดผล ทางคณะผู้ศึกษาจะนําไปแบ่งเป็นหมวดหมู่เอง ดังนั้นเรียนเชิญท่าน
ต่อไปครับ ในส่วนของสิทธิในการกําหนดตนเอง และการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการสาธารณะ การมี
ส่วนร่วมในการกําหนดระบอบทางการเมือง และเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในการ
กําหนดนโยบายหรือแผนเกี่ยวกับการบริหาร จัดการกิจการสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
สิทธิในการเลือกตั้ง และการมีสิทธิออกเสียงเลือกผู้แทนตามวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งทางคณะผู้ศึกษาได้มี
ตารางข้อมูล ท่านคิดว่าควรมีการปรับเพิ่มเติมส่วนไหน ขอเชิญได้เลยครับ
คุณพยนต์ สินธุนาวา (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) - ได้พยายามอ่าน
เอกสารของคณะผู้ศึกษาแล้วซึ่งค่อนข้างจะละเอียดเยอะมาก แต่มีจุดอ่อนของบ้านเมืองเราเหมือนกันก็คือ
เรามักจะทําในสิ่งที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่มีปัญหามาโดยตลอด เป็นจุดที่ต้องมานั่งคิดว่าเราจะ
มั่นใจว่าเอกสารตัวนี้ออกมาค่อนข้างดีแต่ยังรู้สึกเหมือนกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะทําเรื่องตัวชี้วัดมันจะ
คล้ายๆ แบบนี้อีก เพราะว่ามันเคลื่อนยาก ผมมองว่าในส่วนนี้จริงๆ สิ่งที่ควรจะต้องทําอย่างยิ่งคือการหาเส้น
ตัดให้ได้ว่าสิทธิมนุษยชนที่จําเป็นเร่งด่วนจริงคือตัวไหนบ้าง ซึ่งทั้งหมดดีหมด แต่ต้องหาและต้องทําแผนว่า
ภายในกี่ปี เราจะเข้าไปถึงในจุดจุดใดบ้างและตรวจสอบได้ ซึ่งตรงนี้กว้างและมีปริมาณมาก ผมจําได้ว่าเมื่อ
7-8 ปีที่แล้วได้คุยถึงเรื่องนี้พอสมควรเหมือนกัน แต่บางเรื่องก็ไม่เกิดผลเท่าไหร่ในเรื่องของสิทธิ ตรงนี้เป็น
เพียงกรอบใหญ่ที่ผมอยากมีส่วนร่วม จริงๆ ดี เพียงแต่ว่าเราต้องจัดลําดับและตั้งแผนออกมาให้เป็นระยะๆ
หรือกรอบ ประเด็นในส่วนแรกของอาจารย์ผมมองว่า สิทธิในการกําหนดตนเอง และการมีส่วนร่วมในการ
บริหารกิจการสาธารณะ น้ําหนักไปมุ่งที่เรื่องการเลือกตั้ง เราเข้าใจว่าสิทธิในการมีส่วนร่วมคือการเลือกตั้ง
ผมมองว่าจุดมุ่งหมายจะคมและเล็กไป ความจริงการมีส่วนร่วมของประชาชนมันมากกว่าการเลือกตั้ง มี
มากมายมหาศาลมาก มองว่าในกรอบใหญ่จริงๆ ก็คือประชาชนควรจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงสิทธิ
อันดับแรกคนต้องรู้ เมื่อรู้สิทธิแล้วต้องหวงแหน มองว่าตัวชี้วัดตัวนี้มันไม่เกิด เมื่อมันไม่เกิดก็ถามไม่ได้ว่าใคร
มีหน้าที่ พอไม่มีใครมีหน้าที่ ผลก็ออกมาในเรื่องของการไม่ตระหนัก การปกปูองก็ไม่มี เพราะทุกคนก็รู้สึกว่า
ไม่ใช่หน้าที่ก็ไม่ตระหนัก
เรื่องระบบการคุ้มครอง และความเป็นอิสระในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ
สังคม สิทธิในการเลือกตั้ง อันนี้ก็สําคัญ ถ้ามองในข้อ 1.1 จะเห็นภาพชัดว่าตัวชี้วัดผลในข้อ 1.1 มุ่งไปที่การ
การปลอดจากการมีรัฐประหาร เข้าใจเรื่องระบบการเมืองการปกครองก็คือการจะต้องมีผู้แทนของ
ประชาชนเข้ามาก็เลยมองว่าสุดท้ายก็คือการปลอดจากการมีรัฐประหาร แต่ในความเป็นจริงการมีส่วนร่วม
ของภาคประชาชนจริงๆ มันซึมตั้งแต่ชั้นหมู่บ้าน ตําบล อําเภอ รัฐ การมีรัฐบาล การมุ่งไปที่การมีรัฐประหาร
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2