Page 380 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 380
302
3.3 การอภิปรายและระดมความคิด เรื่อง “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เหมาะส าหรับประเทศไทย ในการ
ตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน” ด าเนินรายการโดย นายสันติ ลาตีฟี
ส านักงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กสม.
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - การรับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยมีวิทยากรผู้ดําเนินรายการคือคุณสันติ
ลาตีฟี เป็นเจ้าหน้าที่สํานักงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กสม. จบการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ จาก
School of Oriental and African Studies (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์ (Honorary Fellow) ประจําสถาบัน
นี้ด้วย และได้ติดตามเรื่องของการพัฒนาตัวชี้วัดมา ประการแรกทางคณะผู้ศึกษามีตาราง ทางคุณสันติจะ
ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็น มีทั้งหมด 6 กลุ่มด้วยกัน แต่ละกลุ่มจะมีตัวชี้วัดหรือว่า
เป็นสาระแห่งสิทธิมากน้อยไม่เท่ากันซึ่งอาจจะไม่ครอบคลุม ถ้าเห็นว่ามีขาดมีเกิน มีซ้ํา สามารถแสดงความ
คิดเห็นได้ ประการที่สองมีตัวชี้วัดใดบ้างที่ไม่สะท้อนหรือยังต้องปรับแก้ไข เชิญคุณสันติ
คุณสันติ ลาตีฟี - ช่วงนี้เป็นช่วงที่เปิดโอกาสให้ท่านได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการช่วยกันพัฒนา
ตัวชี้วัดนี้ ก่อนอื่นต้องชี้แจงว่าตัวชี้วัดจะอยู่ในกรอบสองส่วน โดยจํากัดอยู่เพียงสิทธิมนุษยชนที่รับรองโดย
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และสิทธิที่รับรองโดยสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศสอง
ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) เพราะฉะนั้นกรอบจะมีอยู่ในกติกาทั้ง
สองฉบับนี้ ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคี เชิญชวนให้ท่านทั้งหลายดูเอกสารตารางชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน 6
กลุ่ม คณะผู้ศึกษา โดย ผศ. วิชัย ได้แบ่งกลุ่มตัวชี้วัดออกเป็นทั้งหมด 6 กลุ่มตัวชี้วัด ดังนี้ คือ
กลุ่มตัวชี้วัดที่ 1 สิทธิในการกําหนดตนเอง และการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการสาธารณะ
กลุ่มตัวชี้วัดที่ 2 สิทธิในชีวิต และความมั่นคงในชีวิตร่างกาย
กลุ่มตัวชี้วัดที่ 3 สิทธิในความเท่าเทียมทางกฎหมายและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กลุ่มตัวชี้วัดที่ 4 สิทธิเกี่ยวกับมโนธรรม ความคิดเห็น การแสดงออก การสมาคม และการชุมนุม
และสิทธิเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ครอบครัว และชื่อเสียง
กลุ่มตัวชี้วัดที่ 5 สิทธิด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม
กลุ่มตัวชี้วัดที่ 6 สิทธิของกลุ่มบุคคลพิเศษ
ทางคณะผู้ศึกษาได้เขียนลงไปในตาราง ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ช่อง คือ ช่อง (A) องค์ประกอบที่เป็น
สาระแห่งสิทธิ ช่อง (B) ตัวชี้วัดโครงสร้าง ช่อง (C) ตัวชี้วัดกระบวนการ ช่อง (D) ตัวชี้วัดผลลัพธ์
เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกให้ผู้ที่เข้าร่วมในวันนี้ได้ง่ายในการแสดงความคิดเห็น ขออนุญาตไล่
ไปทีละเรื่องทีละสาระแห่งสิทธิ แล้วท่านใดจะให้ความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาช่วยแสดงความคิดเห็นประการ
ใด ขอให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเสรีและอย่างเป็นกันเอง ขอเริ่มจากตารางที่หนึ่งก่อน โดยมีสาระ
แห่งสิทธิอยู่ 3 ด้าน คือ
1.1 การส่วนร่วมในการกําหนดระบอบทางการเมือง และเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
1.2 การมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายหรือแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการกิจการสาธารณะทาง
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สิทธิในการเลือกตั้ง
1.3 การมีสิทธิออกเสียงเลือกผู้แทนตามวิถีทางประชาธิปไตย
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2