Page 345 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 345
267
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - คือพอเขียนเสร็จแล้วมันก็จะยํารวม
แล้วกลับมามันเป็น indicators ตัวเดียวกันแล้วจะชี้ได้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เคลียร์กันสักนิดก็ดีนะ
คะ ว่าบริการสาธารณะควรจะรวมอะไรบ้าง
อาจารย์วิชัย - ที่จริงตรงนี้จะเป็น ESCR เสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น UDHR ข้อ 20 ตั้งแต่
ข้อ 21 เป็นต้นไปมันจะเป็นเรื่องของ ESCR บริการสาธารณะ จริงๆ ถ้าพูดแล้วมันรวมทุกอย่าง
น้ําประปา ไฟฟูา ถนนหนทาง มันมีอยู่สองด้านที่จริงถ้าหากว่าพูดรวมๆ คือว่าบริการเท่าเทียมใน
general comment เขาบอกว่ามีอยู่ 3 ด้าน ด้าน accessibility (การเข้าถึง) - affordable (ราคา
ไม่แพง) - acceptable (สามารถยอมรับได้) คือต้องมีคุณภาพที่พอประมาณ น้ําก็ต้องเป็นน้ําที่สะอาด
ที่สามารถจะใช้บริโภคได้ ไม่ใช่เปิดออกมามีไส้เดือนมาด้วย หรือว่าอย่างเช่นการศึกษาเหมือนกัน ก็
เป็นการศึกษาที่ accessible (สามารถเข้าถึง) ก็คือว่าสามารถที่จะเข้าไปถึง สามารถที่จะเข้าเรียนได้
แล้วก็มีคุณภาพเพียงพอ แล้วก็ในราคาที่พอประมาณ บ้านเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าบริการเข้าถึงแล้วจะฟรี
แต่มันจะใช้ 3 ตัวนี้
อันที่สองก็คือว่าถึงแม้ว่าจะเข้าถึงเป็นสิทธิ แต่ว่ามันจะมีมิติในเรื่องของการที่เราเรียกว่า
affirmative action (ยืนยันการกระทํา) ในกรณีบางกลุ่ม อย่างเช่นคนที่ยากจนสุดแค้นพวกนี้เขาก็
อาจจะต้องมีมาตรการพิเศษในการเสริมเขา อาจจะต้องมีการที่ได้รับการปฏิบัติแบบพิเศษ
เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะแบ่ง แต่อาจจะไม่ได้ list ออกมาทุกอย่าง เราจะแบ่งออกมาใหญ่ๆ ว่าบริการ
ที่ acceptable และ affordable และก็มีมาตรการพิเศษต่อจากนั้น เพราะถ้าเกิด list ทุกอย่างผม
กลัวนะ
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - คืออาจารย์ไม่ต้อง list ทุกอย่าง แต่
อาจารย์ต้องมีคําอธิบาย อย่างในช่องที่สอง อาจารย์อาจจะต้อง list ให้เห็นว่าการเข้าถึงบริการ
สาธารณะ อย่างเช่น เรื่องประปา ไฟฟูา การคมนาคม สาธารณะสุขพื้นฐาน แล้วอาจจะมีคําอธิบาย
ข้างล่างเป็นหมายเหตุในมิติที่อาจารย์พูดถึงเมื่อกี้น่ะครับ เพราะว่าเวลาอาจารย์ทําตัวนี้ไป เวลาจะ
ส่งไปที่คนที่จะเช็คใน step ต่อไป ไม่งั้นพอผลที่คนเช็คออกมาที่อาจารย์จะมาสรุปเพื่อว่าตัวนี้เป็น
indicators หรือไม่ การเช็คของแต่ละคนจากความเข้าใจที่ต่างกัน ผลที่เรามาวิเคราะห์มันจะต่างกัน
อาจารย์วิชัย - ที่จริงเมื่อกี้ที่คุณขรรค์ชัยพูดก็ดีนะ ที่บอกว่ามีการอธิบาย คิดว่าอันหนึ่งที่จะ
ช่วยได้ก็คือตัว footnote อธิบายเพิ่มขึ้นมา เราจะใส่ทุกอย่างลงไปในตัวชี้วัดไม่ได้ แต่ว่าจะมีการ
อธิบาย รู้สึกของอาจารย์ตอนที่ทํา อาจารย์มีอธิบายอะไรพวกนี้เยอะเลยนะครับ ตรงนี้เดี๋ยวผมกลับไป
ปรับ โอเคนะผมเข้าใจว่าคงต้องกลับไปทบทวน แล้วก็ดู list ทั้งหมดเลย แล้วก็มาปรับแก้นี้ก็มาให้ทาง
กลุ่มช่วยดูกันอีกทีนะครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็น ICCPR นะวันนี้
ตอนนี้สามโมง ดูท่าทางคงจะไม่อยากจะคุยต่อแล้วนะครับ ก็ได้พอสมควรอย่างน้อยที่สุดได้
กรอบ วิธีคิด แล้วก็ตัวอย่างของการจัดทํานะครับ ผมเข้าใจว่าวันนี้คงจะบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องของ
กรอบ กระบวนการการจัดทํานะครับ นอกจากนั้นก็ยังได้ input ในเรื่องของตัวชี้วัดบางตัว อันนี้เป็น
เพียงแค่เริ่มต้น แล้วก็ตัวอย่าง หลังจากที่ทําแล้วคงจะต้องให้ทางผู้ใช้ stakeholder มาช่วยกัน
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1