Page 329 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 329

251

                         คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ -  เพิ่มจากอาจารย์อมรานิดหนึ่งเรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่อง
                   ประเด็นสิทธิในการชีวิต ซึ่งมันโยงมาตรงนี้ต้องมองว่าถ้าตายแบบผิดปกติก็ถือว่าเป็นสิทธิ ประชาชน

                   ไม่ควรจะได้รับ คือ สิทธิที่จะตายอย่างปกติ อันนี้มันโยงไปถึงเรื่องของพันธกรณีของรัฐ เรื่องของ
                   respect  –  protect  –  fulfill  อันนี้มันก็เลยกลายเป็นสิทธิ ซึ่งเมื่อมองได้ทั้งสองมุม ทั้งด้านสิทธิ
                   พลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพราะประเด็นที่เราไม่ค่อย
                   ได้คุยเมื่อเช้า คือสิทธิทั้งสองที่มันโยงกัน นอกเหนือจากการเชื่อมโยงตรงกันแล้ว คาบเกี่ยวกันแล้วยัง

                   ส่งเสริมซึ่งกันและกันด้วย เพราะว่าการละเมิดสิทธิตัวหนึ่ง มันอาจจะไปส่งผลต่อการไม่สามารถเข้าถึง
                   สิทธิอีกตัวหนึ่ง


                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - แนะนําว่าให้เขียนไว้เลย

                         นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช - คือผมเพิ่งเคยเห็น เมื่อกี้คุยกับอาจารย์อมรา อันนี้อาจารย์ใส่อัน
                   นี้เอาใจผมหรือเปล่า


                         อาจารย์วิชัย – เรียนด้วยความจริง ผมไม่ได้นึกถึงคุณหมอเลยครับ ตอนใส่เรื่องนี้ เกิดจากการ
                   อ่านข้อบท และ General Comment บังเอิญผมสนใจเรื่องสิทธิในสุขภาพ และเห็นว่าปัญหาการตาย
                   จากอุบัติเหตุของไทยสําคัญ


                         นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช - คือดีนะครับ เพราะว่าผมเองเห็นด้วยกับคุณบุญแทน คือ
                   บางครั้งเราดูเรื่องของสิทธิ เพราะว่าสิทธิสุดท้ายคือการเสียชีวิตในการละเมิดตรงนี้มันสุดโต่งแล้ว ฐาน
                   ที่ไปฆ่ากัน แต่เรามองว่า ในการฆ่ากันส่วนใหญ่ที่เรามองก็คืออย่างอื่น การฆ่ากัน ความรุนแรงแล้วทํา

                   ให้เกิดการฆ่ากัน ผมสนใจเรื่องนี้ เพราะว่าทําเรื่องนี้มาก่อนเคยมองไว้เหมือนกันว่าอยู่ดีๆ เราเดิน
                   ออกไป เรามีสิทธิจะไม่ตายจากอุบัติเหตุไหม เรื่องอื่นรัฐคุ้มครองเรามาก เหมือนเด็กทําไมเด็กเกิดมา
                   ถูกฉีดวัคซีนหมดเลย เขาไม่อยากให้ตาย ไม่อยากให้เป็นโรค เขาก็คุ้มครอง แต่พออุบัติเหตุมันเหมือน
                   ไม่ได้ทําอะไรเลยนะ เราออกไปจากห้องนี้เป็นตาย คือไม่มีใครสนใจแล้วมันเป็นสิทธิของเราไหม ผมก็

                   มองว่าน่าจะเป็นนะ เราไม่น่าจะโดนทิ้งให้ประสบชะตากรรมเสี่ยงตาย ตอนที่เราออกไปบนถนน
                   เหมือนไม่มีใครที่จะมาดู ไม่เหมือนอย่างอื่นที่มีคนดู แต่เรื่องอุบัติเหตุบนถนนปล่อยให้เราเผชิญชะตา
                   กรรมด้วยตัวเอง ถามว่าประเทศอื่นเขาดีไหม ประเทศที่เขาทําดีเพราะว่ากฎหมายเขาดีไง พอ
                   กฎหมายเขาดีคนก็ไม่กล้าละเมิด พอคนไม่กล้าละเมิดกฎหมายเราก็ปลอดภัย แต่บ้านเราพอคนละเมิด

                   กฎหมายมันเลยทําให้เราไม่ปลอดภัย แล้วเราก็ไม่คิดว่าพอเราไม่ปลอดภัยตรงนี้เราโดนละเมิดสิทธิฯ

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องเติมใช่

                   ไหม ให้มีกฎหมาย

                         นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช - ผมก็ไม่ทราบนะ คือเมื่อก่อนนี้ผมเคยไปพูด เคยตั้งคําถามว่าคน
                   กินเหล้าแล้วมาขับรถเป็นการละเมิดสิทธิเราหรือเปล่า ผมคิดว่าละเมิดนะ แต่หลายคนบอกว่าเปล่า
                   จนกว่าเขาจะชนซึ่งจะละเมิด ผมก็เลยจน อาจจะจริงนะเราเข้าข้างตัวเองมากเกินไป แต่มาคิดอีกที

                   การที่ปล่อยให้คนเมาขับ ตํารวจปล่อยให้เราโดนละเมิดแน่นอนเรามีโอกาสตายเยอะ  ถ้าถนนมีคนกิน

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   324   325   326   327   328   329   330   331   332   333   334