Page 326 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 326
248
อาจารย์วิชัย - ถ้าอย่างนั้นประหารไม่ได้เลยไม่ว่ากรณีใดๆ ไทยคงไม่เข้าเป็นภาคีแน่นอน
ดังนั้นอาจเป็นสองประเด็น คือ ถอนข้อสงวน ข้อ 6 และพิจารณาเป็นภาคี พิธีสารฉบับที่สอง
คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ – มันมีกระบวนการที่เรียกว่า moratorium ที่เป็นการพักใช้
โทษประหารชีวิต ที่ล่าสุดกระทรวงการต่างประเทศบอกว่า ความคืบหน้าคือเราได้ปรับท่าทีของเรา
จากการปฏิเสธกระบวนการ moratorium มาเป็นการงดออกเสียง กระบวนการ moratorium จะ
นําไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตไปในที่สุดออกไปจากประชาคมโลก เป็นจริงว่าเราจะตั้งเกณฑ์
อย่างไร
อาจารย์วิชัย - อันนี้เป็นนโยบาย ท่าทีรัฐที่ดีขึ้นในเรื่องโทษประหาร
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - ถ้าเชิงโครงสร้างผมว่าในประเด็นเรื่อง
การยกเลิกข้อสงวนการที่จะปฏิบัติตาม แต่ถ้าเป็นลักษณะของ process ก็การแสดงท่าที การทบทวน
อะไรลักษณะอย่างนี้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ทบทวนทุกวาระ ก็ดี
คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ - ทบทวนคําพิพากษาของศาลด้วย
อาจารย์วิชัย - ผมเห็นว่าน่าจะเป็นทบทวนเรื่องของการถอนข้อสงวน การตีความ ทบทวนการ
ตั้งข้อสงวน
คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ - การงดการให้คําพิพากษาให้ประหารชีวิตก็เป็นขั้นตอนหนึ่งที่
อาจจะลดลงได้บ้าง
อาจารย์วิชัย - อันนี้ไปทับเขาคงไม่ได้ ยาก ศาลคงไม่เอาเพราะมันมีกฎหมายอยู่ ศาลคงไม่เอา
ด้วยถ้าเราไปเขียนอย่างนั้น กลายเป็นเราออกกฎหมาย เราต้องคํานึง Rule of Law ด้วย
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ตกลงเชิงโครงสร้างมี
อะไรคะ
อาจารย์วิชัย - เชิงโครงสร้างผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของการเข้าเป็นภาคี ICCPR และ ICESCR
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ก็เป็นอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - เพิ่มเรื่องการตีความ การขยายความ
ข้อสงวน
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1