Page 305 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 305
227
การกักตัว การกักขัง การใช้กําลังโดยผู้บังคับใช้กฎหมาย ความรุนแรง การใช้อํานาจทาง
ศาลของไทย การเลือกตั้ง ทําได้ดีมาก แต่เราคํานึงผลหรือไม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) และมี
การรัฐประหารตามมา อาจจะต้องมีเกณฑ์ห้ามรัฐประหาร
การเข้าถึงบริการสาธารณะ (public service) การศึกษาขั้นพื้นฐาน (primary education)
กฎหมาย พ.ร.บ. การศึกษาไทย ครอบคลุมถึงคนที่ไม่มีสัญชาติด้วย ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งปัจจุบันดี
แล้ว แต่อาจมีความหลวมบ้าง แต่ไม่ใช่เพราะเจตนาของรัฐ ครูบางคนหรือครูใหญ่ไม่เข้าใจไปกีดกัน
แต่ตามหลักต้องไม่เลือกปฏิบัติเลย แต่เกณฑ์ไม่ใช่แค่ให้เข้าเรียน ต้องให้จบและจบอย่างมีคุณภาพด้วย
การเข้าศึกษาต่อถึงระดับมัธยมซึ่งมีความสําคัญมาก ตอนนี้มีปัญหา การเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถ้าไม่ใช่คนไทยจะเข้าไม่ได้ตามหลักการ แต่ถ้าไม่เลือกปฏิบัติต้องมีการเปิดช่องให้ แต่ในเรื่องสิทธิ
ไม่ได้ระบุร้อยเปอร์เซนต์ว่าจะต้องเข้ามหาวิทยาลัยได้ หลักการห้ามเลือกปฏิบัติในเรื่องสิทธิห้ามเลือก
ปฏิบัติในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ได้หมายถึงสิทธิจะไปไกลกว่านั้น ถ้าจะไปไกลกว่าสิทธิ
ไปสู่การเปิดช่วงในระดับอุดมศึกษา
ที่อยู่ การบริการบ้านที่ราคาไม่แพงเกินไป ไม่ผลักออกจากงานง่ายนัก เข้าถึงการดูแล
สุขภาพ (health care)
การเข้าถึงการงาน สภาพการทํางานที่ดี ฝึกอบรม การเข้าถึงแรงงาน ต้องไม่มีแรงงานทาส
แรงงานเด็ก การค้ามนุษย์ การแสดงออก พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 112 กฎหมายอาญา การ
เข้าถึงศาล สิ่งแวดล้อม บริสุทธิ์จนกว่าพิสูจน์เป็นอย่างอื่น ปกปูองเด็ก ไทยมีกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญาเด็กฉบับใหม่ เป็นการบําบัด กฎหมายการกักกันเด็ก จากเจ็ดปี เป็นสิบปี การประเมินโดย
หน่วยงานที่สูงกว่า
สรุป ศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ ต้องการน าเสนอ
1. ใช้หลัก SMART ตัวชี้วัดไม่ใช่ใช้อุดมการณ์ทางวิชาการ ไม่ใช่สิ่งที่นักวิชาการคิดแล้ว
ต้องการผลักดัน ต้องทําได้แบบมียุทธศาสตร์ ถ้าจะตั้งเกณฑ์ก็ไม่ให้มากเกินไป มีประมาณ 10 ตัว
(MDGs มีแค่ 8 ตัว) ขั้นต้นต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์ มีกรอบทางเวลา
2. ปรับสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น ดัชนีเกี่ยวกับ จปฐ. ซึ่งนํามาปรับได้ในขั้นต้น แล้วนําหลัก
สิทธิมนุษยชนเข้ามาประยุกต์ให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในการห้ามเลือกปฏิบัติ จําแนกให้ได้ และอยู่ในกรอบ
ของการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนทั้งหมด ต้องมีกฎหมายที่ดี ตัวอย่างเช่น การเข้าถึงสาธารณสุขพื้นฐาน
ตัวชี้วัดคือ การเข้าถึงสาธารณสุขพื้นฐานที่ไม่เลือกปฏิบัติ ต้องจําแนกให้เห็นว่าทุกคนได้ประโยชน์
อาจจะต่ํากว่า 30 บาทก็ได้ แต่อย่างน้อยครอบคลุมถึงแรงงานต่างด้าว ผู้ลี้ภัย แบ่งระหว่างสตรีกับ
บุรุษ นํา 30 บาท มาปรับเป็น 30 บาทบวก คือมีกรอบของการดูแลสุขภาพของ 30 บาท บวกกับการ
สํารองกับกลุ่มที่ไม่ใช่คนไทย พิสูจน์ได้เลย สามารถทําได้ในเรื่อง เอดส์ HIV คนที่ไม่ใช่คนไทย
คนชายขอบได้รับความช่วยเหลือจากงบต่างหากจากกองทุนทั่วโลก (global fund) ที่ไม่ใช่ของ
รัฐบาลไทย แต่ได้รับความช่วยเหลือด้วยไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นสากลพอสมควร โดยมีทรัพยากรจาก
หลายแหล่ง
3. ความเป็นสากลปรับตัวแปรของ MDGs 8 ตัว ให้เข้าไปสู่สิทธิมนุษยชนมากขึ้น เช่น
ข้อแรก การขจัดความยากจนและความหิวโหย ตัวชี้วัด คือ ลด 50% ภายในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ.
2558) ใส่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปด้วย เช่น การไม่เลือกปฏิบัติ ต้องจําแนกให้ได้ระหว่างสตรีและ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1