Page 303 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 303
225
ประเด็นที่สี่
การวิจัย สถิติ ตัวชี้วัด มักจะตั้งเกณฑ์เอาไว้มาก จนไม่สามารถทําให้สําเร็จได้ ตัวอย่างเช่น
สิทธิเด็ก ซึ่งไทยได้เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้มีการพูดคุยกันในแวดวงสิทธิเด็กว่าน่าจะมี
ดัชนีวัดในเรื่องการใช้สิทธิเด็ก มีการถกเถียงกัน นักวิชาการได้เสนอตัวชี้วัด 100 กว่าตัว หลังจากนั้นก็
ลืมกันไป
ดังนั้นการมีตัวชี้วัดอะไรก็ตาม ควรต้องมีความชาญฉลาด (SMART) พอสมควรในการกําหนด
วัตถุประสงค์ให้ชัดเจนมีหลักเกณฑ์ตามหลักสากล ความชาญฉลาดที่พูดถึงนี้ หมายถึง หลัก SMART
S = Strategic = ยุทธศาสตร์
M = Measurable = การวัดได้
A = Accessible = การเข้าถึงได้
R = Realizable = การบังคับใช้ได้ สามารถทําได้ และทําให้เป็นจริงได้
T = Time-bounded = มีกรอบทางเวลา มีกําหนดระยะเวลาที่แน่นอน
ตัวชี้วัดที่สามารถใช้งานได้จริงนั้น ต้องมีความเหมาะสม “ไม่มากเกินไป” และต้องมี “ความ
ง่ายพอสมควร” แต่ไม่ถึงกับคลุมเคลือหรือไม่ทําให้เกิดการผลักดันอะไรเลย ซึ่งประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่
เรื่องใหม่ เป็นเรื่องเก่าสามหรือสี่สิบปี ที่ลืมกันแล้ว นํามาพูดกันใหม่ ตัวอย่างเช่น รายงานของ
สหประชาชาติในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ซึ่งมีบทเกี่ยวกับตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน จะเห็นว่าไม่ใช่
เรื่องใหม่ ผมมีโอกาสเป็นผู้ร่วมผลิตรายงานฉบับนี้รายงานต่อสหประชาชาติเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา
หรืออย่างเช่น จปฐ. ของไทยมีมาสามสิบกว่าปี เป็นต้น
ประเด็นที่ห้า
ในการพัฒนากรอบตัวชี้วัดของสหประชาชาติมีกรอบอยู่ 3 ส่วน คือ
1. ด้านโครงสร้างหรือกลไก (Structure)
ตัวชี้วัดด้านโครงสร้าง กลไก นั้นวัดง่ายโดยดูว่า มีกฎหมายหรือไม่ เป็นภาคีสนธิสัญญาสิทธิ
มนุษยชนที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นหรือไม่ ตัวอย่างเช่น กรณีสิทธิในชีวิตมีการกําหนดการห้ามอุ้มฆ่า อุ้มหาย
ห้ามวิสามัญฆาตกรรม และการมีบริการสาธารณสุขที่พอเพียง เป็นเกณฑ์สากล ดังนั้น จึงดูว่าเป็นภาคี
สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเรื่องนี้ไหม
มีเกณฑ์ภายใน เช่น มีกฎหมายห้ามเรื่องนี้ไหม ซึ่งสามารถพิสูจน์ ตอบคําถามได้ง่าย
พอสมควร
2. ด้านกระบวนการ วิธีการ (Process)
ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ วิธีการ เช่น ดัชนีจํานวนคําร้องเรียน (complaint) ในเรื่องการ
อุ้มฆ่า วิสามัญฆาตกรรม (murder complaint) ได้รับการตรวจสอบ (investigate) ตัดสิน ไม่ว่าโดย
วิธีทางการศาลหรือองค์กรอื่น ได้รับการเยียวยาในกรอบทางเวลา (specified of period) รวมถึงกลุ่ม
เฉพาะทั้งหลาย เช่น ชนกลุ่มน้อย เชื้อชาติ แรงงานต่างด้าว รวมถึงการแบ่งระหว่างสตรี และผู้ที่ไม่ใช่
สตรี
จํานวนการร้องเรียนที่ได้รับการเยียวยาในกรอบทางเวลา (specified of period) โดยการ
ตั้งกรอบทางเวลา และวัดตามแผนของ กสม. work plan ต่อปี สองปี หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1