Page 304 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 304

226

                   สังคมแห่งชาติ 5 ปี แล้วแต่กรอบทางเวลา ถ้าตั้งไว้หลายอย่างหลายประการ มากเกินไปจะพิสูจน์ได้
                   ยาก ไม่สามารถทําได้ ต้องตั้งที่สามารถเป็นไปได้ (realizable) เช่น การตั้งเปูาหมายเกี่ยวกับการ

                   แก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนทุกอย่างในหนึ่งปี ไม่สามารถเป็นไปได้ต้องเลือกที่สําคัญเร่งด่วนหรือรุนแรง
                   มาก
                         3. ผลลัพธ์ (Outcome)
                            ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ตามมาหรือที่เกิดขึ้น เช่น ฆาตกรรมเท่าไหร่ ถ้าวัดจากอัตราส่วน (ratio)

                   จากหนึ่งแสนคน กี่คนถูกผลกระทบในหนึ่งแสนคน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าวัดเป็นค่ากลาง โดยวัดว่า
                   สามารถลดการฆาตกรรม จํานวนเท่าไหร่จากหนึ่งแสน โดยมีสถิติ บางครั้งอยากจะวัดว่ามีการลดการ
                   ฆาตกรรมนั้นจะวัดอย่างไรโดยการตั้งเปูาหมายไว้ว่า ลดฆาตกรรมภายในห้าปีลง 50% ซึ่งพิสูจน์ยาก

                   วัดได้ยาก ในการตั้งตัวชี้วัดไว้ว่าสามารถลดการฆาตกรรมได้ 50% ภายในห้าปี หรือหนึ่งปี นั้นเป็นการ
                   พิสูจน์ได้ยากมาก อีกทั้งมีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องมาก เช่นว่าเหตุและผลอยู่ตรงไหน หรือมีประเด็น
                   อะไรที่เกี่ยวข้อง แต่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ภายในกรอบห้าปี จํานวนเท่าไร ซึ่งอาจจะเชื่อมจากกิจกรรม
                   ที่ทําไม่มากก็น้อย
                            การตั้งตัวชี้วัดว่าสามารถลดความไม่เที่ยงธรรมได้จํานวนเท่านี้ ในจํานวนเท่านี้  เหมือน

                   MDGs ลดให้ได้ภายในสิบห้าปี ตัวชี้วัดผลลัพธ์ของ MDGs จะเฉพาะเจาะจงมากกว่า คือ ต้องลดให้ได้
                   50% ของจํานวนประชาชนที่ยากจน ภายในสิบห้าปี วัดโดยหนึ่งดอลลาห์สหรัฐฯ ต่อหนึ่งคน MDGs
                   สามารถทําได้

                            การทําตัวชี้วัดไม่ใช่ว่านักวิชาการจะมาพิสูจน์ว่าเก่งสามารถวัดได้เป็นร้อย ต้องเป็นคุณต่อ
                   ประชาชน ช่วย กสม. และกลไกทั้งหลาย ช่วยกันบริการและปกปูองให้ได้นี่คือผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่ง
                   ต้องเป็นอะไรที่เป็นยุทธศาสตร์ ไม่ใช่อุดมการณ์อย่างเดียว สหประชาชาติได้ทําตัวชี้วัดไว้มากมาย ซึ่ง
                   ทําไม่ได้ทั้งหมด ต้องเลือกเอาว่าจะทําอะไรมากน้อยเพียงไหน ไม่มีประเทศไหนพิสูจน์ได้ว่าทําได้หมด

                   ต้องมีการประเมินว่าทําได้จริงหรือไม่
                            สําหรับด้านสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับพลเรือน แพ่ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
                   จึงมีตัวชี้วัดเกี่ยวกับวิสามัญฆาตกรรม อุ้ม ลงโทษประหารชีวิต ตัวชี้วัด การจับกุมตัว กักตัวโดยไม่ขึ้น
                   ศาล (พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน) บริบทของศาลในการทบทวนการพิจารณาใหม่ การละเมิดโดย

                   ผู้บังคับใช้กฎหมาย การลดการตายของเด็ก การลดการตายของแม่เกี่ยวกับอาหารการกินของไทย
                   ทําได้ดีมาก การเข้าถึงอาหารการกิน ไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารไม่มีปัญหานักนอกจากน้ําท่วม
                   ความมั่นคงของมนุษย์ ในยี่สิบห้าปี ข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาเรื่องของเกษตรกร จะไม่มีคนทําเกษตร
                   สําหรับประเทศไทยนั้นวัดไม่ยาก ปัจจุบันรัฐบาลมีการจํานําข้าว และประกันราคาข้าว การที่สตรีมี

                   บริบทในการเลือกการคุมกําเนิดและอื่นๆ เด็กตาย ทารกตาย ของไทยมีการพิสูจน์ได้ดีมาก แต่สถิติที่
                   พิสูจน์ได้ภายใต้ MDGs  ไม่ได้จําแนกระหว่างไทยและต่างประเทศ การที่ทารกไม่ตายในประเทศไทย
                   หมายความว่าเฉพาะคนไทย แต่ไม่ได้วัดคนที่ชายขอบ แรงงานต่างด้าว ผู้ลี้ภัย ซึ่งจะต้องอยู่ในสถิติใน

                   การจําแนกด้วย อีกทั้งต้องแบ่งจําแนกระหว่างสตรีและบุรุษด้วย
                            การเข้าถึงสาธารณสุขของไทยสามสิบบาท ต้องไม่ใช่ให้แต่คนไทย ต้องกว้างกว่าคนไทย
                   เนื่องจากแรงงานต่างด้าวเข้าไม่ถึงโดยเฉพาะแรงงานชายขอบ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องได้อะไรที่
                   มากเกิน อย่างเช่น การบริการจากโรงพยาบาลเอกชน เช่น โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ แต่การบริการที่
                   กล่าวนี้ หมายถึง การดูแลฉุกเฉินหรือขั้นต้น (emergency care)




                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309