Page 302 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 302
224
2. ไม่มีการเลือกปฏิบัติ แผนหรือดัชนีนั้นจะต้องพิสูจน์และจําแนกออกมาให้ได้ว่าเอื้ออํานวย
ประโยชน์ต่อทุกคนในดินแดนของเรา ไม่ใช่เฉพาะแต่คนไทยที่อยู่ในประเทศไทย และ
จําแนกบุรุษและสตรีด้วย โดยพิสูจน์ได้ในหลักการไม่เลือกปฏิบัติ
3. มีกลไกที่เกี่ยวกับสิทธิ เช่น สํานักงาน กสม. และสถาบันที่เกี่ยวกับการพัฒนา สํานักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และศาลยุติธรรม เป็นต้น
ดัชนีที่เรียกว่า indicators หรือ benchmark นั้น เป็นเครื่องมือของการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง
จะต้องอยู่ในกรอบของหลายๆ อย่าง เช่น กฎหมายที่เอื้อ แผนปฏิบัติการที่เอื้อ กลไกที่เอื้อ รวมทั้ง
การตรวจตราการบังคับใช้
ประเด็นที่สอง
ส าหรับตัวชี้วัดดัชนี สามารถแบ่งได้กว้างๆ เป็นสองอย่าง คือ
1. ด้านปริมาณ (Quantitative) คือ การมีตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการวัดและประเมิน
ในทางสถิติ เช่น การลดคนยากจน 50% ต้องไม่เฉพาะแค่คนไทย หมายรวมถึงคนทั่วไป
ตามความหมายของสิทธิมนุษยชน
2. ด้านคุณภาพ (Qualitative) คือ การวัดอะไรที่มากกว่าตัวเลข ต้องมีกลุ่มเปูาหมาย เข้ามา
มีส่วนร่วมในการประเมิน การประเมินไม่เฉพาะแค่ทางสถิติเท่านั้น การมีส่วนร่วม การ
พึงพอใจ ความรู้สึกในเรื่องการพัฒนา และการเคารพสิทธิ
ในการวิจัยทั่วๆ ไปจะใช้การสัมภาษณ์ (interview) หรือการประเมินโดยเปิดช่องให้ฝุายอื่นมา
ประเมินเราโดยทางวาจา ไม่ว่าจะเป็นการประเมินโดยหนึ่งกลุ่ม การประเมินให้มีดุลของการมี
ส่วนร่วมของประชาชน ตัวชี้วัดที่เป็นเชิงปริมาณ เช่น การลดคนยากจน 50% ต้องไม่เฉพาะแค่
คนไทย หมายรวมถึง คนทั่วไป ตามความหมายของสิทธิมนุษยชน เป็นการวัดทางวัตถุ เปูาหมาย คือ
รายได้ต่ํากว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน ในเชิงปริมาณต้องคํานึงถึงสภาพจิตใจ ความรู้สึก ความ
พึงพอใจ คือ เป็นอะไรมากกว่าตัวเลขเชิงสถิติ
ประเด็นที่สาม
เรามีการใช้ตัวชี้วัดมานานแล้วในบริบทของการพัฒนาสังคม เกณฑ์ความจําเป็นขั้นพื้นฐาน
(จปฐ.) เดิมได้กําหนดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ซึ่งเป็นต้นตํารับตัวชี้วัดของ
ไทย มี 32 ตัวชี้วัด (ปัจจุบันแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีการปรับปรุงใหม่ ให้มีความเหมาะสมชัดเจน
ยิ่งขึ้น มี 42 ตัวชี้วัด) ดังเช่น การเก็บหลักฐานผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในการเข้าถึงแพทย์อย่างน้อยหนึ่งถึง
สองครั้งก่อนคลอดบุตร ซึ่งมี benchmark และตัวเลข value เข้ามาด้วย แล้วนําข้อมูลเข้าศูนย์กลาง
เพื่อประเมินออกมาว่า ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ในหลายจังหวัดยังเข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ ดังนั้น ข้อมูล
นี้จะทําให้เกิดการผลักดันการใช้ทรัพยากรให้กระจายสู่ท้องถิ่น (ชนบท) ให้ได้มากยิ่งขึ้น เป็นส่วนหนึ่ง
ของการพัฒนาซึ่งกระทบกับทรัพยากรและแผนปฏิบัติการ ต่อมาได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดทั้งหลาย
ดังกล่าวตามลําดับ
สําหรับทางด้านสิทธิมนุษยชน มีความเป็นไปได้ไหมที่จะนําเอาโครงตัวชี้วัดของ จปฐ. มาปรับ
ใช้ให้เข้ากับสิทธิมนุษยชนให้มากยิ่งขึ้น จําแนกให้มากและเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งสู่สิทธิ เช่น การนํา
ตัววัดในเรื่องการจําแนกทางสถิติ ความเท่าเทียมระหว่างชาย หญิง ความเท่าเทียมระหว่างคนไทย
และคนที่ไม่มีสัญชาติไทย ความเท่าเทียมระหว่างคนที่อยู่ในชนบทและคนที่อยู่ในเมือง เป็นต้น
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1