Page 300 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 300

222

                        ค ากล่าวเปิดการสัมมนาของศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์

                         ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                         ประธานคณะกรรมการสาขาวิชานิติศาสตร์ กรรมการสิทธิมนุษยชน และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุก
                   ท่าน
                         ดิฉันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การ

                   จัดทําตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ในวันนี้
                         หลายท่านในที่นี้คงทราบแล้วว่า ภารกิจสําคัญประการหนึ่งของ กสม. คือ การจัดทํารายงาน
                   สถานการณ์สิทธิมนุษยชนเสนอต่อรัฐสภา และต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศตาม

                   สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนฉบับต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
                         ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือสําคัญอย่างยิ่ง ในการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการ
                   ปฏิบัติงาน ในการคุ้มครอง การเคารพ และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล
                         นอกจากนั้น ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนยังเป็นเสมือนหลักหมุดสําหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ใช้
                   เป็นฐานในการดําเนินงาน เพื่อให้บรรลุถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ

                   และหลักสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ของรัฐจะต้องนํา
                   ตัวชี้วัดที่จะจัดทําขึ้นนี้ไปพัฒนาต่อยอด โดยกําหนดรายละเอียดและบูรณาการเข้ากับแผนการ
                   ปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานต่อไป

                         เช่นเดียวกันสํานักงาน กสม. เองก็จะใช้ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเป็นแนวทางในการพัฒนา
                   แผนงาน และโครงการต่างๆ ในการดําเนินงานของ กสม.
                         ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการวันนี้ จึงเป็นความสําคัญยิ่ง สําหรับการส่งเสริมปกปูอง
                   คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอนาคต

                         ดิฉันหวังว่า การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสัมมนาวันนี้ จะเป็นประโยชน์แก่คณะผู้ศึกษา
                   เพื่อจะได้พัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็น
                   โอกาสอันดีที่ผู้สนใจด้านสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ได้มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
                   ระหว่างกัน

                         ดังที่ท่านประธานสาขาวิชานิติศาสตร์ได้แจ้งว่า นอกจากการสัมมนาในวันนี้แล้ว จะมีการ
                   สัมมนาต่อเนื่องกันอีกสองครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับกรอบ วิธีการ และกระบวนการ
                   หลังจากนั้นเมื่อคณะผู้ศึกษาได้พัฒนาตัวชี้วัดที่เป็นรูปเป็นร่างแล้วก็จะนําเสนอ (ร่าง) ตัวชี้วัด เพื่อรับ
                   ฟังความคิดเห็นอีกสองครั้ง หวังว่าคงจะได้รับความกรุณาจากทุกท่านที่เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ใน

                   โอกาสต่อไป
                         ดิฉันขอให้การสัมมนาในวันนี้ประสบความสําเร็จด้วยดี ขอให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุก
                   ประการ และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้ทุกท่าน ดิฉันขอเปิดการสัมมนาอย่างเป็นทางการค่ะ


                   6. สรุปการสัมมนา
                      6.1 การบรรยายน า เรื่อง “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน เครื่องมือในการสร้างมาตรฐานการเคารพ
                   ปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน”
                         โดย ศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305