Page 301 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 301

223


                   ประเด็นที่หนึ่ง

                         ตัวชี้วัดหรือตัวบ่งชี้ (indicators)  เป็นวิธีการวัดที่มุ่งสู่อะไรบางอย่างซึ่งเป็นมากกว่า คือ เป็น
                   มากกว่าวิธีการ นั่นคือ การสะท้อนการบังคับใช้หรือปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ตัวชี้วัดเป็นกรอบ
                   ของการปฏิบัติตามของการใช้สิทธิมนุษยชน เพื่อให้มีสภาพที่เอื้อต่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหมด ตัวชี้วัดทําให้
                   เกิดการเชื่อมต่อกับมาตรการต่างๆ ของรัฐได้ เช่น

                         1. การต้องมีกฎหมายเพื่อเอื้อต่อสิทธิมนุษยชน เช่น การออกฎหมายใหม่ของ กสม. ที่เปิด
                            ช่องทางให้ชัดเจนขึ้นในการฟูองร้องในศาลเป็นการเอื้อต่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เพื่อให้มี
                            การเยียวยาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในบริบทการดําเนินงานของ กสม. เป็นต้น

                         2. การนําไปสู่แผนงานหรือนโยบาย (policy) แผนงานหรือนโยบายส่วนมากจะมีกรอบ
                            ระยะเวลาในการดําเนินงาน ในขณะที่กฎหมายไม่มีกรอบระยะเวลา โดยสามารถใช้ได้ถาวร
                            จนกว่าจะมีการยกเลิกกฎหมาย สําหรับแผนปฏิบัติการทั้งของไทยและต่างประเทศจะมี
                            กรอบระยะเวลา เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11  ในปัจจุบัน เป็นต้น
                            ด้านตัวชี้วัด (indicators) นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนฉบับที่สอง

                            ที่มีอยู่แล้วของไทย แต่จะมีตัวชี้วัดหรือไม่

                         สําหรับแผนระดับโลก ในปัจจุบันอยู่ในเปูาหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium

                   Development Goals: MDGs) คือเปูาหมายแปดประการ ที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติ จํานวน 189
                   ประเทศ ตกลงยอมรับกันที่จะพยายามบรรลุให้ได้ภายใน พ.ศ. 2558  ตัวชี้วัดของ MDGs ได้แก่
                         1. การขจัดความยากจนและความหิวโหย โดยกําหนดว่าภายในสิบห้าปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
                            จะลดจํานวนคนยากจนให้ได้ 50  %  ในทุกประเทศ ส่วนเกณฑ์ในการวัดคนจน คือ การที่

                            คนในประเทศมีรายได้น้อยกว่า 1  ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน  การตั้งเกณฑ์ลักษณะนี้เรียกว่า
                            การกําหนดเปูาหมายตัวเปรียบเทียบวัด (benchmark)  คือ ตัวชี้วัดแบบมีเกณฑ์ มี
                            เปูาหมายที่วัดได้เป็นค่า (value) จํานวน เปอร์เซนต์ มีกรอบทางเวลาต้องทําให้ได้ใน
                            ช่วงเวลาที่ระบุไว้ สําหรับตัวชี้วัด (indicator)  เป็นคําศัพท์รวมทั่วๆ ไป เป็นตัวชี้บางอย่าง

                            ในการพัฒนาเพื่อปฏิบัติตาม
                         2. การพัฒนาการศึกษาขั้นประถม
                         3. การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ
                         4. การลดอัตราการตายของเด็ก

                         5. การพัฒนาสุขภาพของแม่
                         6. การปูองกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่อพื้นฐานอื่นๆ
                         7. การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

                         8. การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโลก
                         MDGs  ไม่ใช่เกณฑ์ทางด้านสิทธิมนุษยชน แต่เป็นแผนทางด้านการพัฒนา แผนดัชนีทางด้าน
                   การพัฒนาไม่เหมือนแผนดัชนีทางด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ถ้าเป็นแผนดัชนีทางด้าน
                   สิทธิมนุษยชนจะต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                         1. เป็นเกณฑ์ที่มีความเป็นสากลทางด้านสิทธิมนุษยชน  เช่น สนธิสัญญา ตราสาร ประกอบ

                            ไปกับแผนดัชนี เป็นต้น

                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306