Page 23 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 23

11


                     ปัญหาในขณะนั้นจึงเกิดขึ้นว่า รัฐมีพันธะหน้าที่ในการคุ้มครอง หรือจะร่วมมือกันส่งเสริม “สิทธิ
               มนุษยชนแบบไหน”  ด้วยเหตุนี้ภารกิจอันเร่งด่วนประการแรกของสหประชาชาติก็คือ ต้องท าความชัดเจน

               ให้กับความหมายของสิทธิมนุษยชนและต้องการให้มีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่มีพันธกรณีและมีความชัดเจน
               เพื่อให้รัฐภาคีสามารถน าไปปฏิบัติได้

                      คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council) จึงได้เสนอให้

               จัดท าประมวลหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขึ้น ต่อมาคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมได้จัดตั้งคณะกรรมการร่าง
               ขึ้นในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Commission on Human Rights) โดยในการประชุมได้มีมติให้เตรียม
               ยกร่างเอกสาร สอง ส่วน ได้แก่ หนึ่ง ร่างเบื้องต้นของปฏิญญาที่ระบุหลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน
               (Preliminary draft of a declaration) และ สอง ร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Draft convention

               on human rights) อย่างไรก็ตาม สงครามเย็นที่ก่อตัวขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากอุดมการณ์ทาง
               การเมืองระหว่างฝุายเสรีประชาธิปไตยที่น าโดยสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร กับฝุายสังคมนิยมที่น าโดย
               รัสเซียและจีนท าให้การเจรจาตกลงเกี่ยวกับเนื้อหาของสิทธิมนุษยชนเกิดความล่าช้า ทั้งนี้เพราะทั้งสองฝุาย
               ต้องการให้ก าหนดสิทธิที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองของตนในตราสาร ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธสิทธิ

               ที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองของอีกฝุายจึงท าให้การจัดท าตราสารที่เป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนไม่มีความ
               คืบหน้า


                     ความชะงักงันของการจัดท าตราสารก่อให้เกิดความกังวลในคณะกรรมาธิการฯ ดังนั้นคณะกรรมาธิการฯ
               จึงได้เสนอทางออกว่าการจัดท าประมวลหลักการทางกฎหมายในรูปของปฏิญญาจะต้องด าเนินไปก่อน
               เนื่องจากปฏิญญาไม่ก่อพันธกรณีทางกฎหมายแก่รัฐภาคีสหประชาชาติ ดังนั้น รัฐภาคีสหประชาชาติน่าที่จะให้
               การสนับสนุนมากกว่าการจัดท าตราสารที่ก่อพันธกรณี ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้ให้ค าแนะน าแก่
               คณะกรรมการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า


                     “ตราสารสิทธิมนุษยชน ควรจะต้องเป็นที่ยอมรับได้โดยบรรดาประเทศภาคีของสหประชาชาติทุก
                                                                             17
               ประเทศ ดังนั้น จึงต้องสั้น กระชับ ง่ายต่อการเข้าใจ และต่อการกล่าวอ้าง”

                     คณะกรรมการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ตัวแทนจากประเทศต่างๆ
               ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ และระบบกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยประกอบด้วยผู้แทนจากออสเตรเลีย ชิลี จีน
               ฝรั่งเศส เลบานอน รัสเซีย และนางอีเลเนอร์ รูสเวลท์


                       โดยที่นางรูสเวลท์ เป็นประธานร่างปฏิญญาฉบับนี้ ดังนั้นจึงมีส่วนส าคัญที่ได้น าความคิดอิสรภาพสี่
               ประการ ของอดีตประธานาธิบดีรูสเวลท์ มาเป็นพื้นฐานของการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
               ส าหรับผู้แทนจากฝรั่งเศส คือ ศาสตราจารย์เรเน กาแซง (Rene’ Cassin) นั้นถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสูง

               ในการจัดท าร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเนื่องจากเป็นคนรอบรู้ทั้งปรัชญาสิทธิมนุษยชนและทฤษฎี
               ทางกฎหมาย และเป็นผู้ผลักดันสิทธิทางด้านสวัสดิการสังคมในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


               17
                   J. Moller, “The Universal Declaration of Human Rights: How the Process Started”, in A. Eide et al. eds.,
                  The Universal Declaration of Human Rights: A Commentary, (Oslo: Scandinavian University Press,
                  1993) p. 18.
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28