Page 22 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 22

10


                                                         บทที่ 2
                                    พันธกรณีของรัฐในการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนและ

                          ความหมายของตัวชี้วัดในการติดตามตรวจสอบการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน





                     โดยที่โครงการนี้ต้องการพัฒนาตัวชี้วัดฯ ตาม “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”  ดังนั้น สิ่งที่ต้อง
               ท าความชัดเจนในบทแรกมีดังนี้ คือ ความหมายและขอบเขตของสิทธิมนุษยชนมีอย่างไร ปฏิญญาสากลว่าด้วย
               สิทธิมนุษยชนสร้างพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่และพันธกรณีเหล่านั้นมีอย่างไร  และในล าดับต่อมาจะ

               ชี้ให้เห็นว่าตัวชี้วัดมีความส าคัญในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างไร ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่ดี
               นั้นควรมีลักษณะอย่างไร  และล าดับท้ายสุดคือ สังคมไทยได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้ส าหรับงานด้าน
               สิทธิมนุษยชนอย่างไร


                     ดังนั้น ในบทนี้จึงได้แบ่งหัวข้ออธิบายเป็น สี่หัวข้อ ดังนี้ หนึ่ง ความหมายและขอบเขตของสิทธิมนุษยชน
               สอง พันธกรณีของรัฐในการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชน สาม ความหมายของตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน สี่ พัฒนา-
               การของการใช้ตัวชี้วัดในงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย


               2.1 ความหมายและขอบเขตของสิทธิมนุษยชน

                     ค าว่า “สิทธิมนุษยชน” เป็นค าที่เกิดขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดเกี่ยวกับ
               สิทธิมนุษยชนมีมานานแล้วนับตั้งแต่สมัยกรีก สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มิได้อยู่นิ่งเฉยแต่เป็นผลจากวิวัฒนาการ

               ของกระบวนการเรียกร้อง (struggle) ของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่อ้างความชอบธรรมของประโยชน์นั้นๆ ว่า
                                                                                          15
               เป็นสิ่งจ าเป็นต่อความเป็นมนุษย์ (human dignity) โดยมีฐานทางกฎหมายในการเรียกร้อง


                     โดยที่กฎบัตรสหประชาชาติอันเป็นธรรมนูญก่อตั้งสหประชาชาติได้ก าหนดพันธะหน้าที่หลักที่ส าคัญ
               ประการหนึ่งขององค์กรแห่งนี้ไว้ในข้อ 1  ว่า  บรรดารัฐสมาชิกของสหประชาชาติเชื่อมั่นใน “สิทธิมนุษยชน”
               และหน้าที่ของบรรดารัฐสมาชิกจะ “ส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐาน
               โดยปราศจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา” แต่ขณะนั้นความหมายของสิทธิ

               มนุษยชนยังคลุมเครือว่า คืออะไร มีขอบเขตอย่างไร เช่น สิทธิมนุษยชนของอังกฤษ หมายถึง “หลักนิติธรรม”
               ในฝรั่งเศส หมายถึง สิทธิทางการเมืองและสังคมตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษย์ ในขณะที่ใน
               รัสเซีย หมายถึง สิทธิของชนชั้นกรรมาชน ส่วนในสหรัฐอเมริกา อาจหมายถึง “อิสรภาพสี่ประการ” ที่เสนอ
               โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์  (อิสรภาพทางความคิด อิสรภาพในศาสนา อิสรภาพจากความกลัว และอิสรภาพ

               จากความขาดแคลน)  นอกจากนั้นประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอื่นหาเข้าใจความหมายของค าว่าสิทธิมนุษยชน
                        16
               ตรงกันไม่

               15
                   วิชัย ศรีรัตน์, “แนวคิดและพัฒนาการของกฎหมายสิทธิมนุษยชน”, ใน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                  เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน พิมพ์ครั้งที่ 3 (นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช), หน้า 10.
               16   วิชัย ศรีรัตน์, อ้างแล้ว.
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27