Page 24 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 24

12



                     คณะกรรมการฯ ได้ร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเสร็จ และสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้มีมติ

               รับรอง โดยมติเอกฉันท์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) โดยมีแปดประเทศที่งดเว้นออกเสียง
                                                                   18
               ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ รัสเซีย และยุโรปคอมมิวนิสต์

                     พิจารณาในเรื่องขอบเขตของสิทธิมนุษยชน  โดยที่สิทธิมนุษยชนมีพลวัตรสูงและความหมายขึ้นอยู่กับ

               บริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงเป็นการยากที่จะก าหนดความหมายของค าว่า “สิทธิมนุษยชน”
               ไว้ในตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นเดียวกันในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 เลี่ยงที่
               จะใช้ค าว่า “สิทธิมนุษยชน” เพื่อให้กฎหมายรับรองคุ้มครองโดยใช้ค าว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิ
               เสรีภาพแทน ในขณะที่พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ก็นิยามศัพท์ในเชิง

               การก าหนดขอบเขต เพื่อประโยชน์ในการด าเนินงานของ กสม. ดังปรากฏในมาตรา 3

                     “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่
               ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตาม

               สนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม

                     การที่มาตรา 3  ก าหนดขอบเขตว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์....... ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้อง

               ปฏิบัติตาม” แสดงโดยนัยว่า สิทธิมนุษยชน มีขอบเขตมากกว่าที่ประเทศไทยเป็นภาคี

                      โดยที่ โครงการนี้มุ่งพัฒนาตัวชี้วัดตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
               มนุษยชนไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์สถานะและลักษณะของสิทธิเชิงทฤษฎีที่ลึกซึ้ง ดังนั้นจึงไม่มีความ
               จ าเป็นในการวิเคราะห์การเรียกร้องอื่นๆ ว่ามีลักษณะเป็นสิทธิมนุษยชนหรือไม่ แต่จะใช้สิทธิมนุษยชนที่รับรอง

               โดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นฐานในการพัฒนาตัวชี้วัด

                     อย่างไรก็ตาม คณะผู้ศึกษาเห็นพ้องกันว่าสิทธิมนุษยชนหาได้มีจ ากัดอยู่เพียงเท่าที่รับรองไว้ในปฏิญญา

               สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งได้ประกาศไว้กว่าหกสิบปีมาแล้วไม่

               2.2 พันธกรณีระหว่างประเทศของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                     เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  มาตรา 257  ได้ก าหนดให้ กสม. มี
               หน้าที่

                     “ตรวจสอบและรายงานการกระท าหรือการละเลยการกระท า อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่

               เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี”







               18   ibid.
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29